Page 11 - อิเหนา
P. 11

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               เนื้อความตอนนี้ คล้ายคลึงกับบทกลอนตอนท้ายในพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์รัชกาลที่ 1 ที่กล่าวไว้ว่า


                       “อันพระราชนิพนธ์รามเกียรติ์   ทรงเพียรตามเรื่องนิยายไสย


                       ใช่จะเป็นแก่นสารสิ่งใด      ดั่งพระทัยสมโภชบูชา

                       ใครฟังอย่าได้ใหลหลง         จงปลงอนิจจังสังขาร์


                       ซึ่งอักษรกลอนกล่าวลำดับมา   โดยราชปรีดาก็บริบูรณ์”


               ฉะนั้นจึงสันนิษฐานว่า บทละครเรื่องอิเหนาซึ่งเจ้าฟ้ามงกุฎทรงแต่งไว้ครั้งกรุงเก่าคงมีต้นฉบับเพียง แค่สึกชี

               เรื่องต่อจากนั้นเป็นของแต่งขึ้นใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 1.


                       พอถึงสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นผู้สนพระทัยเรื่องการละคร

               มากขนาดกล่าวกันว่าใครชำนาญเรื่องการละคร การแต่งละคร จะได้เป็นที่โปรดปรานละครหลวงที่เล่นในสมัย
               รัชกาลที่ 2 เล่นเรื่องอิเหนา รามเกียรติ์ บางทีก็เล่นเรื่องอุณรุท แต่เรื่องดาหลังไม่ปรากฏว่ามีเล่น รัชกาลที่ 2

               ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาขึ้นใหม่ทั้งเรื่อง ทำนองจะเป็นเพราะมีพระราชดำริว่า บทอิเหนา

               พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 1 เป็นแต่แต่งซ่อมแซมบทครั้งกรุงเก่าความยังไม่เข้ากนสนิท และเล่นละครได้ไม่เหมาะ
                                                                               ั
               จึงตั้งพระทัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ ปกติการทรงพระราชนิพนธ์บทละครต่าง ๆ ในรัชกาลที่ 2 มิได้ทรงเอง

               แต่พระองค์เดียว เล่ากันมาว่า ทรงเลือกสรรข้าราชการ เจ้านายที่ชำนาญกลอนไว้เป็นที่ปรึกษาและแต่งร่วม

               ด้วย กล่าวกันว่า มี 7 ท่านด้วยกัน ที่ทราบแน่ชัดก็คือสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวครั้งยังดำรงพระยศเป็น
               กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี และสุนทรภู่ วิธีการที่ทรงพระราชนิพนธ์คือ

               เรื่องตรงไหนที่จะไม่ทรงนิพนธ์เอง ก็พระราชทานให้กวีที่ปรึกษาเหล่านั้นรับตัดตอนไปแต่ง ตอนไหนที่

               ทรงพระราชนิพนธ์แล้วก็ดี หรือกวีที่ได้รับไปแต่งแล้วนำมาถวายก็ดี เอามาอ่านหน้าพระที่นั่งในที่ประชุมกวี

               ให้ช่วยกันแก้ไขอีกชั้นหนึ่ง


                       แต่บทอิเหนาในรัชกาลที่ 2 ไม่มีหลักฐานว่ามีกวีที่ปรึกษาคนใดมีส่วนร่วมด้วย ในการ

               ทรงพระราชนิพนธ์ทรงยึดเอาฉบับของเดิมเป็นหลัก ทรงพระราชนิพนธ์โดยรักษาความของเดิมไว้ทั้งหมด
               เพียงแต่แต่งให้สั้นเข้า สำนวนกลอนกระชับรัดกุมกว่าเดิม และการทรงพระราชนิพนธ์บทละคร เรื่องนี้

               มีที่พิเศษไปกว่าการแต่งบทละครในสมัยก่อน ๆ คือ บทละครที่ทรงพระราชนิพนธ์แล้วจะส่งประทาน

               เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีไปลองซ้อมกระบวนรำกับบรรดาครูละครอื่น ๆ ก่อน ช่วยกันดัดแปลงแก้ไข

               กระบวนรำจนเห็นงาม จึงจะเป็นยุติหากขัดข้องในเรื่องท่ารำบางทีก็กราบทูล ให้ทรงแก้ไขบท เมื่อใดกระบวน

               ท่ารำเป็นที่ยุติแล้ว เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีได้ซ้อมให้ครูละคร ไปหัดละครหลวงตามกระบวนท่ารำที่คิด

               ขึ้นจนชำนาญแล้วก็นำไปซ้อมถวายให้ทอดพระเนตรทรงติเตียนแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง เป็นอันเสร็จสิ้น
               กระบวนความ การแต่งบทแล้วนำไปซ้อมกับกระบวนรำจนเข้า กับบทได้เรียบร้อยนี้ เป็นสิ่งที่ไม่เคยปรากฏ



                                                                                                     หน้า | 8
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16