Page 8 - อิเหนา
P. 8

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               ปันหยีทั้งสิ้น เช่นในหิกะยัติ หันหยี สมิรัง พระเอกปลอมเป็นโจรป่า ชื่อ ปันหยี สะงูลาหรา ตัวนางเอกก็ปลอม

               เป็นโจรป่าใช้ชื่อว่า ปันหยีสมิรัง ตัวบรรพตสาหรี (ฉบับของไทยคือ สียะตรา) อนุชาของนางเอกปลอมเป็น

               โจรป่า ชื่อว่า ปันหยียุทธาสมร เป็นต้น ฉะนั้นชวาอาจจะใช้ชื่อว่า นิทานปันหยี เพราะตัวละครเอกของเรื่อง

               ปลอมตัวเป็นปันหยีทั้งสิ้น ต่างกับฉบับไทย ที่มีอิเหนาคนเดียวที่ใช้ชื่อว่าปันหยี ในตอนที่ออกมะงุมมะงาหลา

                       ถึงแม้ว่ารายละเอียดในนิทานปันหยีของชวามะลายูจะผิดเพี้ยนกันไป แต่ทุก ๆ ฉบับยังคงรักษา

               เค้าเรื่องใหญ่เหมือนกันดังนี้


                       1. วงศ์เทวดา มีกษัตริย์ครองนคร 4 แห่งคือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง สิงหัดสาหรี เป็นเชื้อสาย ของ

               ปะตาระกาหลา ถือเป็นวงศ์เทวดา นอกไปจากนี้ ถือเป็นเมืองชั้นสองรองลงไปเรียกว่า ระตู ทั้ง 4 นครมี

               ความสัมพันธ์เกี่ยวดองกันอยู่ตลอดเวลา เพราะจะมีการตุนาหงัน พระโอรสและพระธิตา ของนครต่าง ๆ
               ตั้งแต่ประสูติ เมืองที่เป็นเอกคือ กุเรปันและดาหาเพราะโอรสของท้าวกุเรปันคืออิเหนา เป็นคู่ตุนาหงันของ

               บุษบาพระธิดาท้าวดาหา


                       2. อิเหนา ไปหลงรักผู้หญิงอื่นที่ไม่ใช่คู่ตุนาหงัน จนบอกเลิกการหมั้นกับพระธิดาท้าวดาหา เช่น

               ในเรื่อง ดาหลัง อิเหนาไปหลงรักนางบุษบาสาหรี ใน อิเหนา อิเหนาก็ไปหลงนางจินตะหรา ตอนนี้เป็นจุดแรก

               ที่ขมวดเรื่องให้เข้มขึ้น


                       3. การรบพุ่งชิงนาง เป็นการดึงตัวละครเอกเข้าหากัน อิเหนาที่ถอนหมั้นไปแล้วจะได้พบคู่หมั้น ที่ตน
               ไม่เคยเห็นมาก่อนงดงามเพียงไร และเป็นการสร้างตัวละครให้มีบุคลิกขัดแย้งกันเพื่อให้ตัวเอก เด่นขึ้น (จรกา

               และอิเหนา)


                       4. การมะงุมนะงาหลา คงจะเป็นที่นิยมของชาวชวาที่ชอบให้หัวอกเดินเป็นเมืองขึ้นมาก ไปในท้องถิ่น

               ต่าง ๆ และแสดงความสามารถในการรบได้อาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองขึ้นมากมาย การมะงุมมะงาหราคือ

               การที่พระญาติวงศ์ของทั้งอิเหนาและบุษบาออกติดตามกันไปที่เป็นพระธิดา ก็แปลงเพศเป็นชาย และทุก ๆ
               องค์จะปลอมตนเป็นโจรป่าเที่ยวปล้นเมือง การมะงุมมะงาหลาเป็น ตอนที่ยืดยาวที่สุดและอยู่ในการดลบันดาล

               ของประตาระกาหลา ในที่สุดพระญาติวงศ์ของทุกๆ พระองค์จะต้องมาพบกันที่เมืองดาหลังและค่อย ๆ

               จำกันได้ ยกเว้นอิเหนาและบุษบา


                       5. การเล่นหนัง มีอยู่ในนิทานปันหยีทุก ๆ เรื่อง ถือเป็นส่วนสำคัญเพราะจะเป็นต้นเหตุให้ อิเหนาและ

               บุษบาจำกันได้ก็เป็นอันพันคำสาปของประตาระกาหลา ในดาหลัง การเล่นหนังทำให้อิเหนา ได้พบนางบุษบา

               เพราะอิเหนาปลอมตัวเป็นตนเล่นหนัง (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,2561,น.168 - 170)







                                                                                                     หน้า | 5
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13