Page 5 - อิเหนา
P. 5
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงสืบสานงานด้านวัฒนธรรมให้รุ่งเรืองขึ้น โดยเฉพาะ บทละคร
เรื่องอิเหนาได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่โดยทรงปรับปรุงให้เหมาะแก่ การแสดง ทรงพิถีพิถันทั้งบทกลอนและ
ท่ารำ เมื่อทรงพระราชนิพนธ์แล้วก็พระราชทาน บทให้เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีไปลองซ้อมกระบวน
รำหน้าพระฉายบานใหญ่ โดยมีนายทองอยู่ ครูพระ และนายรุ่ง ครูนาง ครูละครผู้มีชื่อเสียงในขณะนั้น เป็น
ที่ปรึกษาช่วยกันแก้ไขกระบวนรำจนเห็นงาม แล้วให้ครูทั้งสองนำไปหัดละครหลวง ซ้อมถวายทอดพระเนตร
เพื่อให้ผู้ทรงพระราชนิพนธ์มีพระราชวินิจฉัยทั้งท่ารำและ กระบวนกลอนให้สอดคล้องกันจึงยุติ และถือเป็น
แบบแผนสืบมาจนถึงปัจจุบัน
เรื่องอิเหนาได้เคาเรื่องมาจากนิยายของชวาซึ่งเรียกกันว่านิยายปันหยี (Panji Tale) หรือระดินอนูแห่ง
้
ิ
กุรีปั่น (Radin Inu Kuripan) นิยายปันหยีมีหลายสำนวน แต่ละสำนวนเนื้อเรื่องต่างกันในรายละเอียด
มีเนื้อความตรงกันเฉพาะเรื่องที่ พระโอรสแห่งกรุงกุเรปันหมั้นกับพระธิดาดาหา แต่ไปหลงรักหญิงอื่นจน
เกิดเรื่อง ยุ่งยาก ต้องปลอมพระองค์ไปเร่ร่อนเที่ยวตีเมืองน้อยใหญ่ทั่วแดนชวาทำให้อาณาจักร แผ่ขยาย
กว้างขวาง ในที่สุดตัวละครสำคัญก็ได้พบกันและกลับคืนบ้านเมืองอย่างเป็นสุข
นิยายปันหยีนี้มีมูลความจริงอยู่ ประมาณ พ.ศ. 2365 กษัตริย์โอรลังคะ ต้นราชวงศ์ของอิเหนาได้
รวบรวมบ้านเมืองใหญ่น้อยไว้ในอำนาจ ได้รับยกย่องว่า เป็นกษัตริย์ที่มีเดชานุภาพมากจนกลายเป็นเรื่องเล่า
กันสืบๆ มา เป็นเรื่องเสริมพระเกียรติยศ พระมหากษัตริย์ผู้เก่งกล้าสามารถ นิยายเรือนิทานปันหยีแพร่หลาย
มาสู่ดินแดนทางแหลมมลายู และเข้ามาสู่ราชสำนักไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549,น.84 – 86)
นิทานปันหยีเป็นวรรณคดีสำคัญของชวา เพราะเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นเพื่อแสดงพระเกียรติคุณของ
พระมหากษัตริย์ชวาพระองค์หนึ่ง ผู้เป็นทั้งนักรบและนักการปกครอง ทรงทำความเจริญให้แก่ชวาเป็นอย่าง
มาก วรรณคดีเรื่องนี้จึงมีความสัมพนธ์กับประวัติศาสตร์ชวา ดังจะขอกล่าวถึงประวัติศาสตร์ชวาอนเป็นมูลเหตุ
ั
ั
ของเรื่องโดยสังเขปดังนี้
ชวาหรืออินโดนีเซียในปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่มีวัฒนธรรมสูงมาแต่โบราณ และเป็นดินแดนสำคัญ
ส่วนหนึ่งของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งเป็นดินแดนในความครอบครองของพวกมะลายูอยู่ทางสุมาตรา (พวกนี้ได้แก่
พวกอินเดียใต้ที่อพยพมาตั้งอาณาจักรในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ) ในระยะที่ชวา มะลายูมีอำนาจก็จะแผ่อาณาเขต
ครองดินแดนชวา เช่น ในประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 มีหลักฐานปรากฏว่าอาณาจักรศรีวิชัย ข้ามไปตั้งเป็น
ปึกแผ่นอยู่ในชวาภาคตะวันตกและภาคกลาง แต่เมื่อใดที่ ผู้ปกครองชาวมะลายูอ่อนแอลง พวกชวาก็จะแข็งข้อ
ขึ้น ในราวพุทธศตวรรษที่ 13 ทางภาคตะวันออกของชวาที่อยู่ในความคุ้มครองของชวาเดิมได้ฟื้นตัวขึ้น
เริ่มต่อสู้กับพวกศรีวิชัย ตั้งตนขึ้นเป็นประเทศใหญ่มีราชธานีอยู่ที่ดาหาเมื่อ พ.ศ. 1512 มีกษัตริย์ชวาองค์หนึ่ง
ชื่อ ไอรลังค์ ได้กู้ชาติบ้านเมืองให้พ้นจากแอกกดขี่ของอาณาจักรศรีวิชัยและทำความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชวา
หน้า | 2