Page 9 - อิเหนา
P. 9

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               ประวัตินิทานปันหยีในไทย


                       ประวัตินิทานปันหยีในไทยนั้น มีคำแถลงสืบมาว่าเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เสวยราชย์

               ครองกรุงศรีอยุธยา มีพระธิดาด้วยเจ้าฟ้าสังวาลย์ พระนามว่า เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล และเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ

               เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองมีข้าหลวงเป็นหญิงชาวมะลายู เชื้อสายพวกเชลยที่ได้มาจากเมืองปัตตานี ข้าหลวงมลายู

               คนนี้ได้เล่านิทานเรื่องอิเหนาถวายให้ทรงฟัง เจ้าฟ้าหญิงทั้งสองชอบพระทัยมาก จึงทรงแต่งเป็นบทละครขึ้น
               พระองค์ละเรื่อง เพราะนิทานอิเหนามีเล่ากันเป็นหลายอย่าง ดังกล่าวมาแล้ว เจ้าฟ้าหญิงกุณฑลทรงเรื่อง

               ดาหลัง เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎทรงเรื่อง อิเหนา เหตุที่ทรง เป็นบทละครแทนที่จะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทานเห็นจะเป็น

               เพราะว่าในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงพอพระทัยในเรื่องการละครอย่างยิ่ง ละครในซึ่งไม่เคยมีมาก่อน

                                                                                                     ิ
               เราก็ได้ทราบว่าในสมัยพระ เจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการเล่นละครในคือละครผู้หญิงล้วนแล้ว วรรณคดีเรื่องอเหนา
               และดาหลัง พระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าหญิงทั้งสองพระองค์ ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นบทละครในด้วย ต่อมา

               ต้นฉบับ นี้คงขาดหายไม่สมบูรณ์ เนื่องด้วยคราวเสียกรุงและระยะเวลาอันยาวนาน ในสมัยกรุงธนบุรีก็ยังมี

               การเล่นละครเรื่องอิเหนาอยู่ แต่ไม่ปรากฏว่าเล่นเรื่องดาหลังเลย

                       ในสมัยกรุงธนบุรี ไม่ปรากฏว่ามีบทละครเรื่องอิเหนาที่แต่งขึ้นใหม่ เข้าใจว่ายังคงใช้บทละคร ครั้งกรุง

               เก่าอยู่แต่มีบทอิเหนาเป็นหนังสืออ่านคือ อิเหนาคำฉันท์ ผลงานของหลวงสรวิชิต (เจ้าพระยาพระคลัง) แต่งขึ้น

               เมื่อ พ.ศ. 2322 แต่งเป็นคำฉันท์ปนกาพย์ เริ่มเรื่องตั้งแต่อิเหนาปลอมเป็นจรกา วางอุบายลอบเผาเมืองดาหา

               แล้วลักพาตัวนางบุษบาไปซ่อนไว้ในถ้ำทองที่เตรียมไว้ จรกาติดตามไปเพราะระแวงว่าอิเหนาคงจะเป็นตัว

               การ ได้พบอิเหนาแต่อิเหนากลบเกลื่อนด้วยการแสดงอาการโศกเศร้าร่ำไห้ไปกับจรกา จนจรกาตายใจ

               เนื้อความก็จบลงเพียงนี้

                       ครั้นพอถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชนิพนธ์บทละครใน

               ขึ้นมาใหม่เพื่อรักษาวรรณคดีของเก่าแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ บทละคร ในพระราชนิพนธ์

               ได้แก่ รามเกียรติ์ อุณรุท ซึ่งทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด ส่วนเรื่อง ดาหลัง และอิเหนา ทรงนำบท

               ครั้งกรุงเก่าที่ยังเหลืออยู่เป็นหลักแล้วทรงพระราชนิพนธ์ซ่อมแซมแต่ตรงที่บทเดิมขาดไป บทดาหลังพระราช
               นิพนธ์รัชกาลที่ 1 ที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้เนื้อความไม่บริบูรณ์ เพราะชำรุดเสียหายตามกาลเวลา มีเนื้อความ

               เพียงตอนที่ว่า “ท้าวกาหลังทรงทราบว่ามีสาประหนิงกุหนังหายไป” ส่วนเรื่องอิเหนา เนื้อเรื่องขาดหายไปมาก

               เช่นกัน มีหลักฐานทางตำนานว่าทรงพระราชนิพนธ์ไว้ 38 เล่มสมุดไทย แต่ที่เหลือตกทอดมาจนบัดนี้

               มีเพียง 7 เล่ม เนื้อความเป็น 6 ตอนใหญ่ ๆ ไม่ติดต่อกันดังนี้


                       1. ตอนตั้งวงศ์เทวา จนถึงอิเหนาไปเมืองหมันยาครั้งแรก


                       2. ตอนเข้าห้องจินตะหรา จนถึงอิเหนาตอบสารท้าวกุเรปัน ไม่ยอมอภิเษกกับนางบุษบา




                                                                                                     หน้า | 6
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14