Page 4 - อิเหนา
P. 4
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง
ประวัติความเป็นมา
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นช่วงเวลา
ที่บ้านเมืองมีความสงบสุข เนื่องจากว่างศึกสงคราม จึงมีเวลาทะนุบำรุงงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมได้มาก
พระองค์ทรงเป็นทั้งช่าง ศิลปิน และกวี ได้ทรงสร้างสรรค์งานศิลปะในสาขาต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เป็นต้นว่า
การแกะสลักไม้ การประพันธ์เพลง และการประพันธ์วรรณคดีซึ่งได้ทรง พระราชนิพนธ์ไว้หลายประเภท เช่น
กาพย์เห่เรือ บทเสภา บทพากย์รามเกียรติ์ บทละคร บทละครใน บทละครนอก ฯลฯ
พระราชนิพนธ์บทละครที่ได้รับการยกย่องอย่างมากคือบทละครในเรื่อง อิเหนา ดังที่วรรณคดีสโมสร
ได้ตัดสินให้เป็นยอดของบทละครรำใน พ.ศ. 2459 เพราะเป็นวรรณคดีที่ดีพร้อมทั้งเนื้อความและกระบวน
กลอนสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวไว้ในตำนานละครอิเหนาว่า
ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้แค่สึกชี ต่อจากนั้นไปจนจบว่าเป็นของผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมเข้าทีหลัง ในการ
ทรงพระราชนิพนธ์นั้นได้ทรงเลือกสรรเจ้านาย ข้าราชการที่เป็นกวิชำนาญกลอนไว้สำหรับ ทรงปรึกษา
ที่ปรากฎพระนามและนามอย่างชัดเจนคือ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)
เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี กรมหมื่น สุรินทรรักษ์ ขุนสุนทรโวหาร ภู่) และพระยาไชยวิชิต เผือก) ดังนั้น
ที่กล่าวว่า ผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมน่าจะเป็นกวีกลุ่มดังกล่าว
บทละครเรื่องอิเหนามีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า พระราชธิดาใน
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 2 พระองค์ คือเจ้าฟ้าหญิงกุณฑลและ เจ้าฟ้าหญิงมงกุฎ ทรงได้นางข้าหลวง
เป็นแขกมลายูมาจากปัตตานี เรียกกันว่า ชาวยะวอ มาจากภาษาชราและเพี้ยนไปเป็นยะไว ซึ่งบางคนเข้าใจว่า
ยะไวเป็นชื่อเฉพาะไปนางข้าหลวงชาวยะวอเล่านิทานถวายเป็นที่พอพระทัยทั้ง 2 พระองค์ จึงทรงนำ เค้าเรื่อง
มาแต่งบทละครขึ้นพระองค์ละเรื่อง บทละครของเจ้าฟ้าหญิงกุณฑล พระราชธิดาองค์ใหญ่คือเรื่องดาหลัง
เรียกกันเป็นสามัญว่าอิเหนาใหญ่ ส่วนบทละครของเจ้าฟ้าหญิงมงกุฎพระราชธิดาพระองค์เล็กคือเรื่อง อิเหนา
เรียกกันว่า อิเหนาเล็ก ปัจจุบันไม่ปรากฏต้นฉบับทั้งสองสำนวน ดังความปรากฏในเพลงยาวท้าย
พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาฉบับรัชกาลที่ 2 ว่า
อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป
ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช มีพระราชประสงค์ที่จะ
ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยซึ่งเสื่อมโทรมไปให้พัฒนาถาวรขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กวีแต่งบทละครใน
ขึ้น ได้แก่ เรื่องอุณรุท รามเกียรติ์ ดาหลัง รวมทั้งอิเหนาซึ่งแต่งตามอิเหนาเล็ก ล่วงมาถึงรัชสมัย
หน้า | 1