Page 7 - อิเหนา
P. 7

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               นิทานปันหยี


                       เรื่องอิเหนาในชวาเรียกว่า นิทานปันหยี เป็นวรรณคดีที่เป็นที่นิยมมาก จึงมีเนื้อหาแตกต่างกันไปหลาย

               สำนวน นอกจากเป็นวรรณคดียอดนิยมแล้ว ละครและหนังของชวาก็ชอบเล่นเรื่องอิเหนา มากกว่าเรื่องใด

               ละครขวาเรียกว่า "โตเป็ง" ตัวละครสวมหน้ากากในการแสดงแบบโขนของ ไทย ส่วนหนังเรียกว่า “วายังกุลิต"

               การแสดงทั้งสองชนิดต้องมีคนพากย์เรียกว่า "ดาหลัง" คนพากย์ เก่ง ๆ จะพากย์ได้ไพเราะนัก นิทานปันหยีมี
               เนื้อความแตกต่างกันไปหลายสำนวนก็ด้วยเหตุที่มีคนพากย์ต่าง ๆ กันนี้ด้วยเช่นกัน เมื่อเรารับวรรณคดีเรื่องนี้

               มาเป็นวรรณคดีไทย เรารับเข้ามา 2 สำนวนคือ เรื่องอิเหนา และดาหลัง


                       ระเด่นปูรฺพจรฺกะ หัวหน้ากองวรรณคดีในราชสมาคมศิลปศาสตร์แห่งเมืองปัตตาเวีย ผู้เขียนหนังสือ

               รวบรวมและวิจารณ์นิทานปันหยีฉบับต่าง ๆ ได้กล่าวว่านิทานปันหยีมีหลายฉบับ


                       1. หิกะยัต ปันหยี สมิรัง เป็นภาษามะลายู แปลจากภาษาชวารุ่นกลาง


                       2. สรัตกัณฑ ภาษาชวาได้ต้นฉบับจากเมืองโสโล


                       3. ปันหยี อังเกรนี ภาษาชวาได้ต้นฉบับมาจากเมืองปาเลมบัง เป็นสำนวนที่มีเนื้อเรื่องบริบูรณ์กว่าทุก
               สำนวน


                       4. มาลัด ภาษาโบราณของชวาที่เรียกว่า ภาษากวี นับว่าเป็นสำนวนที่ใกล้กับสมัยอิเหนา ใน

               ประวัติศาสตร์ยิ่งกว่าสำนวนใด ๆ สำนวนนี้ได้มาจากเกาะบาหลี


                       5. อิเหนา ของเขมร มีเนื้อความเช่นเดียวกับอิเหนาเล็กพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2


                       และระเด่นปูรพจรก ได้สรุปความเห็นในตอนท้ายว่า นิทานปันหยีน่าจะเขียนกันในตอนท้าย ๆ
               ที่ราชอาณาจักรมัชปาหิตเริ่มเสื่อมลงแล้ว ที่ว่า “เริ่มเสื่อม” นั้น ก็เพราะในสมัยที่มัชปาหิตรุ่งเรืองเต็มที่

               เป็นสมัยที่ยังนิยมเรื่องจากอินเดีย เช่น รามายณะ มหาภารตะ มากกว่าเรื่องพื้นเมือง และยังใช้ภาษาชวาเก่า

               หรือภาษากรี ต่อมาเมื่อมัชปาหิตเริ่มเสื่อม จึงหันไปนิยมเรื่องโบราณของชวาเอง แทนเรื่องพระราม ฯลฯ

               หันไปใช้ภาษาใหม่ ที่เรียกกันเดี๋ยวนี้ว่า ภาษาชวารุ่นกลาง และโดยเหตุที่นิทานปันหยีส่วนมากใช้ภาษาชวา

               รุ่นกลาง จึงเห็นว่าน่าจะสูงไปกว่า  ปีมาแล้ว คือในระหว่างพ.ศ. 1900-2000 คือในระยะเวลาที่อิสลาม

               เข้าครอบครองบ้านเมืองแล้วหลังจากความเสื่อมแห่งอาณาจักรมัชปาหิต

                       ดังได้กล่าวมาแล้วว่า นิทานปันหยีของชวามีหลายสำนวนและผิดเพี้ยนกันไปมากในด้านชื่อตัวละคร

               สถานที่และรายละเอียดปลีกย่อย พวกชวาใช้ชื่อพระเอกของเรื่องตลอดจนชื่อเรื่องว่า ปันหยี (โจรป่า) นามว่า

               อิเหนา เป็นนามของพระเอกในเรื่องนี้เหมือนกัน แต่เขาไม่ค่อยใช้กันนัก ผิดกับไทยที่ถือว่าปันหยีเป็นนามปลอม

               ของพระเอกในระหว่างปลอมตัวเป็นโจรป่าเท่านั้น ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะว่าของชวา ตัวเอกต่างก็ปลอมเป็น



                                                                                                     หน้า | 4
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12