Page 10 - อิเหนา
P. 10

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



                       3. ตอนวิหยาสะกำเที่ยวป่าได้รูปนางบุษบา จนถึงท้าวหมันหยารับสารท้าวกุเรปัน


                       4. ตอนศึกกะหมังกุหนิง


                       5. อิเหนาปลอมเป็นปันหยีตามหาบุษบาถึงเมืองมะละกาจนถึงอณากรรณขึ้นเขาปะจาหวัน
                                                                          ุ
                       6. ตอนย่าหรันตกไปเมืองมะงาดาจนถึงระเด่นดาระหวัน ตามย่าหรันมาถึงเมืองกาหลัง


                       ความจริงหอพระสมุดวชิรญาณได้ต้นฉบับอิเหนารัชกาลที่ 1 เขียนในสมุดข่อยมาทั้งหมด 38 เล่ม

               เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2450 ได้จากเมืองนครต่อมาเมื่อจะรวบรวมพิมพ์ปรากฏว่ากระจัดกระจายหายสูญ

               เหลือเพียง 7 เล่ม มีเนื้อความใหญ่ ๆ 6 ตอน ที่กล่าวมานี้


                       อิเหนาฉบับที่หอพระสมุดฯ ได้มาจากเมืองนครแล้วคิดว่าเป็นพระนิพนธ์รัชกาลที่ 1 นี้

               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือพระราชวิจารณ์ว่ามิใช่บทพระราชนิพนธ์

               ในรัชกาลที่ 1 ตลอดทั้งเรื่อง เพราะเนื้อความตอนต้นเป็นสำนวนแต่งครั้งกรุงเก่า ความที่พรรณนาเวียงวังก็เป็น
               แผนที่ครั้งกรุงเก่าซึ่งมีพระที่นั่งจักรวรรดิ์ไพชยนต์และพระที่นั่งทรง ปืน เป็นต้น และในตอนท้ายตรงจบ

               บทละคร มีเพลงยาวกล่าวไว้ดังนี้


                       “อันอิเหนานิพนธ์ไว้แต่ก่อน   บทกลอนเพราะพริ้งเป็นหนักหนา


                       ใครสดับก็จับวิญญาณ์         ดังสุทธาทิพรสสำอางกรรณ


                       แต่ค้างอยู่เพียงสึกชี       นับปีจะสูญเรื่องเป็นแม่นมั่น

                       ครั้งนี้พระบาททรงทศธรรม์    ถวัลย์ราชปิ่นทวาราวดี


                       เสด็จเถลิงจักรพรรดิพิมานอาสน์  ทรงพระราชนิพนธ์อักษรศรี


                       ต่อเรื่องอิเหนาแต่สึกชี                โดยคดีบริบูรณ์นิทานกาล”

               ที่ทำให้เชื่อแน่ว่าเนื้อความตอนท้ายเป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 คือคำกลอนตอนท้ายสุด กล่าวว่า


                       “ใครฟังแล้วจงฟังราโชวาท     อย่าประมาทหลงใหลใช่แก่นสาร


                       อุตส่าห์เพียรบำเพ็ญศีลทาน   หว่านพืชไว้เป็นประโยชน์ตน

                       ดำริถึงชราร่างให้เป็นนิจ     บำรุงจิตน้อมใจในกุศล


                       ถึงน้อยเท่าผลพันธุ์ผักกาด    สุดแต่ปรารถนานั้นเป็นใหญ่


                       แม้นดับเบญจขันธ์เมื่อใด     จะได้สู่สุคติสมบูรณ์”





                                                                                                     หน้า | 7
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15