Page 18 - อิเหนา
P. 18
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
อารยธรรมปันหยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เนื่องจากประทับใจกับภาพการเดินทางที่ไม่มีวันสิ้นสุดและสงครามการพิชิตที่มีอยู่สม่ำเสมอตลอด
เรื่อง เอเดรียน วิคเกอร์ (Adrian Vickers) จึงเสนอว่า แท้ที่จริงแล้วลักษณะเช่นนี้มีแกนร่วมกันบางอย่างกับ
วัฒนธรรมการเมืองของภูมิภาค ซึ่งเรียกว่า "อารยธรรมปันหยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" หรือกระบวนการ
อันมีพลวัตซึ่ง "ราชอาณาจักรต่าง ๆ คือองคาพยพหรือนามสำหรับกลุ่มก้อนแห่งความเป็นพันธมิตรและ
ความภักดีที่ลื่นไหลไปได้เรื่อย ๆ แทนที่จะเป็นตัวตนที่ตายตัวและมีขอบเขตชัดเจน" นอกจากมีความร่วมกันใน
ื่
เรื่องวัฒนธรรมการเมืองแล้ว ความนิยมที่มีอยู่ทั่วทั้งภูมิภาคก็เป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได้ชัด ดังนั้น เพอให้เป็น
พื้นฐานสำหรับบท ต่อ ๆ ไป จึงจะขอเริ่มด้วยการชักม้าเลียบค่ายสำรวจอิทธิพลของเรื่องเล่านี้ในจารีต
ทางวรรณคดีของชวา รวมทั้งในโลกมลายูและศูนย์กลางทางวัฒนธรรมอื่น ๆ อย่างเช่นพม่าและกัมพูชา
เนื่องจากมีวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับนิทานปันหยีอยู่ค่อนข้างมหาศาลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และข้อจำกัด
ของผู้เขียนเองในการเข้าถึงวรรณคดีเหล่านี้ในภาษาต่าง ๆ จึงทำได้เพียงแค่ฉายหนังตัวอย่างให้เห็นภาพกว้าง
ๆ เท่านั้น โดยเนื้อหาหลักในบทนี้จะเป็นการอภิปรายเกี่ยวกับนิทานปันหยีฉบับภาษาไทยและเนื้อหาโดยสรุป
ของ อิเหนา
เชื่อกันว่านิทานปันหยีเป็นนิยายรักที่มีรากกำเนิดมาจากเกาะชวา หลักฐานชิ้นแรก ๆ ของเรื่องเล่านี้
คือภาพแกะสลักหินที่แกมบิยอก (Gambyok Relief) ซึ่งเชื่อกันว่านำมาจากฉากบางฉากในนิทานปันหยีที่มี
อายุราว พ.ศ.1956 ตามข้อสันนิษฐานของวิลเลม สตุตเตอร์ไฮม์ (Willem Frederik Stutterheim)
นักโบราณคดีชาวดัตช์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับชวานั้น ภาพแกะสลักหินที่ว่านี้อาจนำมาจากเนื้อหาตอนที่ปันหยีกับ
พี่เลี้ยงทั้ง 4 กำลัง พักผ่อนอยู่กลางป่า แต่ก็ไม่ค่อยชัดเจนนักว่าเขาหมายถึงเนื้อหาส่วนไหนในเรื่องเล่าเหล่านี้
เพราะเราสามารถพบฉากทำนองเดียวกันนี้ได้ทั่วไปในเรื่องเล่าเหล่านี้ฉบับต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม วลาดิเมียร์ บรา
กินสกี้ (Vladimir Braginsky) ก็ยืนยันว่าฉากที่ถูกแกะสลักอยู่ในแผ่นศิลานี้น่าจะนำมาจากเนื้อหา "ขณะที่
ปันหยีกำลังปรึกษาหารืออยู่กับพี่น้องและคนรับใช้ โดยตั้งใจจะลักพาเอาหญิงผู้เป็นรักแรก คือ เกน เมอร์ตาลา
งู กลับไปยังวังของตนโดยอาศัยเงามืดแห่งราตรีกาล" นอกจากหลักฐานชิ้นนี้แล้ว ก็ยังมีภาพแกะสลักหินนูนสูง
อีก 4 ภาพที่จันดี เกนดาลีสอดอ ในชวาตะวันออก อันเป็นสักการสถานสำหรับการบวงสรวงบูชาและ
ุ
การทำสมาธิ ซึ่งสตุตเตอร์ไฮม์เคยลงความเห็นว่าน่าจะมีอายุอยู่ในราวพทธศตวรรษที่ 21 และเชื่อว่านำเนื้อหา
มาจากเรื่อง ปันหยี ชอยอกุสุมอ (Panji Jayakusuma) อันเป็นนิทานปันหยีฉบับที่ได้รับความนิยมสูงสุดในชวา
(ทวีศักดิ์ เผือกสม,2560,น.40 - 42)
หน้า | 15