Page 23 - อิเหนา
P. 23
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
ความรักรุมจิตพิศวง จนลืมองค์ลืมอายนางโฉมศรี
ไม่เป็นอารมณ์สมประดี ภูมีหลงขับขึ้นฉับพลัน
เจ้าเอยเจ้าดวงยิหวา ดั่งหยาดฟ้ามาแต่กระยาหงัน
ได้เห็นโฉมฉายเสียดายครัน ฉุกใจมิทันคิด เอย
อิเหนาจึงเปิดเผยนิสัยความเป็นคนเจ้าเล่ห์เพทุบายออกมา ด้วยการกลั่นแกล้งจรกา และพยายาม
กระทำต่างๆ เพื่อให้ได้ตัวนางบุษบา โดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น เช่น การเผาเมืองทำลาย
ทรัพย์สิน ลักนางบุษบาไป ซึ่งในความเป็นจริงก็ทำให้เกิดผลดีกับวงศ์ตระกูล ที่จะไม่เสียวงศ์เพราะบุษบาต้อง
แต่งงานกับจรกา แต่ในที่สุดอิเหนาก็ถูกปะตาระกาหลาลงโทษให้ต้องออกตามหาบุษบา แม้พบกันก็ต้องคำสาป
ให้จำกัดไม่ได้อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง
2.บุษบา
บทบาทของตัวละครฝ่ายหญิงในวรรณคดีไทยแทบทุกเรื่อง เป็นบทบาทของตัวละครธรรมดา
เพราะแก่นสำคัญของเรื่องไปอยู่กับตัวละครเอกฝ่ายชายมากกว่า ตัวละครฝ่ายหญิงจะมีบทบาท และ
ความสำคัญในฐานะที่ได้เข้ามาปรากฏเกี่ยวพันอยู่กับตัวเอกฝ่ายชาย บทบาทเด่นในการแสดงฝีมือทางอาวุธ
การรบทัพจับศึก ก็มีเฉพาะในขณะที่แปลงตัวเป็นชายเท่านั้น นางบุษบาก็เช่นเดียวกัน นางมีโอกาศได้แสดง
ฝีมือในการรบกับระตูจะมาหรา ในรูปลักษณ์ของอุณากรรณ แต่เมื่อนางฆ่าระตูจะมาหราตาย นางก็ “เมาเลือด
ผาดเผือดพักตรา ด้วยไม่เคยฆ่าใครบรรลัย”
ลักษณะเช่นนี้สะท้อนมาจากแบบอย่างชีวิตของผู้หญิงสมัยก่อน ซึ่งมีฐานะทางสังคมต่ำกว่าชาย
ตัวละครฝ่ายหญิงมักไม่มีสิทธิออกความเห็นหรือแสดงบทบาทผู้นำ หรือแม้แต่จะเป็นผู้ตัดสินใจเอง เช่น ท้าวดา
หายกนางบุษบาให้จรกา นางก็ไม่มีการโต้แย้งหรือทำให้ขัดพระทัย คงยอมรับโดยดุษณี ดังนั้นลักษณะนิสัยใจ
คอของตัวละครฝ่ายหญิงจึงค่อนข้างจะเป็นไปในทางยอมเป็นเบี้ยล่าง ยอมรับว่าตนด้อยกว่าชายในทุกกรณี ไม่
มีปากมีเสียง ถ้าตัวละครฝ่ายหญิงจะมีลักษณะเป็นผู้นำ ก็มีในรูปของการแปลงการเป็นชายดังกล่าว
ลักษณะทั่ว ๆ ไปนางบุษบานั้น เป็นไปตามธรรมเนียมนิยมในการสร้างนางเอกในวรรณคดี
ไทย คือต้องมีรูปร่างหน้าตาสวยงาม ถึงกับบุรุษที่ได้เห็นรูปวาดของนางมีอันเป็นไป
เมื่อนั้น ระตูจรกาเรืองศรี
คลี่กระดาษดูรูปนางนารี ให้เปรมปรีดิ์ประดิพัทธิ์ผูกพัน
หน้า | 20