Page 26 - อิเหนา
P. 26

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



                       พระจะไปดาหาปราบข้าศึก               ฤารำลึกถึงคู่ตุนาหงัน


                       ด้วยสงครามในจิตยังติดพัน            จึงบิดผันพจนาไม่อาลัย


                       ไหนพระผ่านฟ้าสัญญาน้อง              จะปกป้องครองความพิสมัย

                       ไม่นิราศแรมร้างห่างไกล              จนบรรลัยมอดม้วยไปด้วยกัน


                       ……………………………………………                   ………………………………………………


                       แล้วว่าอนิจจังความรัก               พึ่งประจักษ์ดั่งสายน้ำไหล


                       ตั้งแต่จะเชี่ยวเป็นเกลียวไป         ที่ไหนเลยจะไหลคืนมา


                       สตรีใดในพิภพจบแดน                   ไม่มีใครได้แค้นเหมือนอกข้า


                       ด้วยใฝ่รักให้เกินพักตรา             จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์


                       โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก              เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงช้ำจิต

                       จะออกชื่อลื่อชั่วไปทั่วทิศ          เมื่อพลั้งผิดคิดแล้วจะโทษใคร


                       อย่างไรก็ตาม จินตะหราก็มีบทบาทเช่นเดียวกับตัวนางเอกในวรรณคดีคนอื่น ๆ คือ เป็นหญิงที่มีชีวิต

               ขึ้นอยู่กับสามี ไม่มีปากเสียง ไม่มีโอกาสทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง บทบาทที่ปรากฏก็คือ

               ความหึงหวงชิงรักหักสวาทเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งเพิ่มสีสันให้การแสดงนั่นเอง


                       4.จรกา

                       ในบรรดาตัวละครฝ่ายปฏิปักษ์ (antagonist) ในวรรณคดีไทยทั้งหลาย จรกาเป็นคนชั่วตัวดำมากที่สุด

               เมื่อกวีบรรยายถึงจรกาแต่แรกนั้น ได้กล่าวถึงอย่างเป็นทำนองขบขันแกมหมั่นไส้ว่า “รูปทรงอัปลักษณ์หนัก

               หนา ดูไหนมิได้งามทั้งกายา ลักขณาผมหยัก พักตร์เพรียง จมูกใหญ่ไม่สง่าราศรี จะพาทีแห้งแหบแสบเสียง”

               แต่ก็ยัง “คิดจะหากัลยาเป็นคู่เคียง ที่งามเพียงสาวสวรรค์ให้เกื้อองค์”


                       เมื่อจรกาไปสู่ขอบุษบา และท้าวดาหาก็ยกให้ดังประสงค์ ปรากฏว่ากษัตริย์วงศ์เทวาอื่น ๆ ก็ไม่พอ

               พระทัย มีการเปรียบเทียบระหว่างวงศ์เทวาของนางบุษบาว่าเป็น มณี และ หงส์ กับวงศ์ตระกูลของจรกาว่า
               เป็นลูกปัด กับ กา ซึ่งถ้าหากว่าทั้งสองฝ่ายอภิเษกกันแล้วก็จะทำให้เสียงวงศ์ทั้งยังนำจรกาไปเปรียบเทียบกับ

               อิเหนาอีกด้วยว่า อิเหนานั้นเหมาะสมกับบุษบาราวกับแก้วสุวรรณ หรือองค์อสัญแดหวากับนางเทพธิดา

               พระอาทิตย์กับพระจันทร์ เป็นต้น







                                                                                                    หน้า | 23
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31