Page 31 - อิเหนา
P. 31
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
ต้องรบพุ่งเอามาเป็นเชลย บางเมืองได้ยินกิติศัพท์เก่งกล้าเจ้าเมืองก็จะออกมาเชื้อเชิญต้อนรับและยกเมืองให้
สิ่งนี้เป็นการประกาศแสนยานุภาพของตัวเอก ซึ่งเมื่อเรื่องราวจบลงแล้วได้ขึ้นครองราชอาณาจักรที่มีประเทศ
ราชขึ้นด้วยมากมาย
3). อำนาจของเทวดา เป็นผู้ช่วยดำเนินเรื่อง เนื้อเรื่องในนิทานปันหยี มีปะตาระกาหรา เป็นกงจักร
สำคัญที่วางโครงเรื่องว่าจะดำเนินเรื่องไปทางใด เหตุการณ์ที่เป็นจุดก่อให้เกิดปัญหา เกิดจากการดลบันดาล
ของปะตาระกาหลา และในตอนท้ายปะตะระกาหลาจะสร้างเหตุการณ์ประจวบเหมาะขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา
นั้นเอง เช่น บันดาลให้เกิดลมหอบบุษบาไป เพื่อพระญาติวงศ์จะได้ออกติดตามหา บันดาลให้มีนกยูงมานำทาง
สียะตราไปเมืองดาหลัง เพื่อจะได้พบอิเหนาและวิยะดาคู่หมั้นซึ่ง ปลอมตัวเป็นนางเกนหลง เป็นต้น ใน
วรรณคดีไทยเทพเจ้าก็เข้ามามีบทบาทสำคัญเหมือนกัน เทพเจ้าที่นิยมของไทยคือ พระอินทร์ ซึ่งจะมาช่วย
ปราบปรามเรื่องทุกข์ร้อนต่าง ๆ หรือจะทำให้ เรื่องร้ายกลายเป็นดี เช่นพระอินทร์ปลอมองค์ลงมาตีเมือง
ท้าวสามล เพื่อให้เจ้าเงาะได้แสดงตนว่ามี รูปทอง ในวรรณคดีไทยนอกจากพระอินทร์ก็ยังมีฤาษีชีไพร ผู้มีเวทย์
มนต์คาถา ดลบันดาลให้เกิด เรื่องต่าง ๆ นานาขึ้นได้ ทั้งเรื่องดีเรื่องร้าย อย่างปู่เจ้าสมิงพรายในลิลิตพระลอ
ก็มีบทบาทสำคัญใน การดึงเอาตัวพระลอให้ออกจากบ้านเมืองมาหานางเพื่อนนางแพง แต่ในเรื่องพระอภัยมณี
ฤาษีก็เป็น ผู้ช่วยตัวละครในเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องอาศัยอำนาจเวทย์มนต์คาถา
4). การจบดี การจบเรื่องแบบสุขนาฏกรรมเป็นที่นิยมของคนไทยมากกว่าจบเรื่องแบบโศกนาฏกรรม
นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ ทุกเรื่องจะจบลงด้วยว่า พระเอก นางเอก ได้พบกัน อภิเษกสมรส ครองราชสมบัติ ด้วย
ความสุขความเจริญ ในเรื่องอิเหนา จบลงด้วยการอภิเษกอิเหนา-บุษบาและ ราชบุตรราชธิดา สี่พระนครแล้วมี
บทต่อมาด้วยเรื่องทิษฐิมานะของจินตะหราและบุษบา ซึ่งในที่สุด ก็คืนดีกันได้โดยจินตะหราเข้าพบบุษบาก่อน
อิเหนาจึงมีความสุขอย่างราบรื่นด้วยชายาทั้ง 10 องค์ และตอนท้ายก็เป็นการแบ่งอาณาจักรให้ระเด่นและระตู
ต่าง ๆ ไปครอบครอง
(รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,2561,น.189 - 190)
หน้า | 28