Page 35 - อิเหนา
P. 35
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
บทเจรจาละครเรื่องอิเหนา
บทเจรจาละครเรื่องอิเหนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นเพื่อให้
คณะละครในของหลวงใช้แสดงประกอบบทละครในเรื่อง อิเหนาพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธ
เลิศหล้านภาลัย ในงานเฉลิมพระมนเทียร ขึ้นพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเนื่องในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์
ครบ 100 ปี เมื่อพุทธศักราช 2425 บทเจรจานี้มีจำนวน 68 บทแต่นำมาใช้แสดง 67 บท ที่เหลือ 1 บทไม่ได้ใช้
เพราะมีบท เจรจาบทหนึ่งทรงพระราชนิพนธ์ไว้ 2 บท แล้วทรงเลือกใช้ 1 บท เนื้อหาของบทเจรจานี้เริ่มตั้งแต่
ตอนจรกาทราบข่าวศึกติดเมืองดาหาจนถึงสังคามาระตาเตือนสติอิเหนาซึ่งเศร้าโศกเสียใจมาก หลังจาก
ทราบว่าบุษบาถูกลมหอบหายไป
มีการผสานลักษณะของการเจรจาในการแสดงละครในตามขนบเดิมเข้ากับลักษณะที่ทรงสร้างสรรค์
ใหม่ รวมทั้งการใช้บทเจรจาในลักษณะใหม่ได้อย่างเหมาะสม ทำให้บทพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มีคุณค่าและมี
ความสำคัญหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฐานะบทเจรจาซึ่งเป็นวรรณคดีการแสดงที่ใช้แสดงร่วมกับ ละคร
ในเรื่องอิเหนา พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ลักษณะของพระราชนิพนธ์
บทเจรจาละครเรื่องอิเหนาที่สอดคล้องกับขนบการเจรจาใน การแสดงละครใน ได้แก่ การใช้รูปแบบ
คำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้ว การมีหน้าที่ช่วยทวนความใน บทร้อง และการวางตำแหน่งของบทเจรจาแทรก
ต่อจากบทร้องช่วงต่าง ๆ ส่วนลักษณะสร้างสรรค์ใหม่และการใช้บทเจรจาเรื่องนี้ในลักษณะใหม่นั้น พบว่า
มีหลาย ประการซึ่งเกิดจากพระราชดำริและพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้แก่
1. บทเจรจาเรื่องนี้เป็นบทเจรจาละครในลายลักษณ์เรื่องแรกของไทย คือ มีการประพันธ์เตรียมไว้
ล่วงหน้าต่างจากการเจรจาในขนบเดิมที่อยู่ในขนบมุขปาฐะซึ่งผู้เจรจาต้องคิด คำเจรจาขึ้นเองเดี๋ยวนั้นโดยไม่มี
การแต่งบทไว้ล่วงหน้า
2. บทเจรจาหลายช่วงในเรื่องนี้ใช้ร้อยแก้วแบบพิเศษที่มีสัมผัสคล้องจองคล้ายร่าย หรือไม่ก็คล้าย
กลอนพื้นบ้าน และบางช่วงมีกลอนและโคลงแทรกอยู่ในบทเจรจาด้วย (ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ธานีรัตน์ จัตุทะ
ศรี,2562,น.จ)
หน้า | 32