Page 33 - อิเหนา
P. 33

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องอิเหนา


                       1.ฉาก ( setting) และรายละเอียดเป็นเรื่องไทย ๆ โดยตลอด แม้โครงเรื่องส่วนใหญ่จะต้องเป็นไปตาม

               ประเพณีของชวาแต่กวีก็พยายามสร้างบรรยากาศให้เป็นไทย ๆ เช่น พรรณนาความงามของเมืองว่า


                       เสาชิงช้าอาวาสวัดพราหมณ์            ทำตามประเพณีพิธีไสย


                       หอกลางอยู่กลางเวียงชัย              แม้เกิดไฟไพรีตีสัญญา


                       ตะพานช้างทางข้ามคชสาร               ก่ออิฐปูนกระดานไม้หนา

                       คลองหลอดแลลิ่วสุดตา                 น้ำลงคงคาไม่ขอดเคือง


                       แทรกความรู้เกี่ยวกับพระราชพิธี ขนบธรรมเนียมและอื่น ๆ ไว้มากล้วนเป็นพระราชพิธีและประเพณี

               ไทยทั้งสิ้น เป็นแบบแผนใช้อ้างอิงในการศึกษาวิถีชีวิตในสังคมไทยชั้นสูงได้


                       2.กระบวนกลอนไพเราะ ได้รสชาติทางวรรณศิลป์มากกว่าบทละครคำกลอนและนิทานคำกลอนทุก

               เรื่อง

                       3.กวีสนใจรักษาธรรมเนียมนิยมในการแต่ง(literary conventions) ของกวีสมัยก่อนไว้อย่างสม่ำเสมอ

               เช่น ความประณีตบรรจงในการแต่งบทธรรมชาติ ชมความงามบทอัศจรรย์ และโวหารเปรียบเทียบ


                       4.บทกลอนทุกตอนประสานกันดี จนผู้อ่านไม่ทราบว่ากวีผู้ใดแต่งตอนใด ทั้งนี้น่าจะเป็นเพราะ

               ประปรีชาสามารถในการวางแผนงานและประสานงานของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


                       5.เรื่องอิเหนามีโครงเรื่อง(plot) สำคัญอยู่เพียงจุดเดียว คือการคลาดแคล้วและพลัดพลากจากการของ

               ตัวละคร เหตุการณ์ (events) เกือบทุกตอนดำเนินไปเพื่อแก้ปัญหาใหญ่ที่กล่าวนั้น

                       6.เรื่องอิเหนา เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่คนไทย เพราะเป็นบทละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

               สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น(สมพันธุ์ เลขะพันธุ์,2561,น.95)



















                                                                                                    หน้า | 30
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38