Page 34 - อิเหนา
P. 34

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               อินเหนาฉบับลาว


                       อินเหนาฉบับลาวในฐานะวรรณคดีลาว เรื่องอินเหนาฉบับลาวแต่งด้วยโคลงสาร มีเนื้อหาเริ่มตั้งแต่

               จระกาส่งช่างเขียนไปวาดรูปบุดสะบา จนถึงท้าวกะหนังหนึ่งส่งทูตไปสู่ขอบุดสะบาให้วิหยาสะกำ สันนิษฐานว่า

               เรื่องอินเหนาฉบับนี้คงแต่งขึ้น เพื่อใช้อ่านทำนองลำ เนื่องจากโคลงสารเป็นฉันทลักษณ์เก่าแก่ที่นิยมแต่ง

                                                                                               ื
               สำหรับใช้อ่านทำนองลำ น่าจะประพันธ์ขึ้นที่หลวงพระบาง และมีที่มาจากเรื่อง อิเหนาฉบับไทยคอเรื่องอเหนา
                                                                                                     ิ
               พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทั้งใน ด้านเนื้อหา ตัวละคร การใช้ถ้อยคำ
                                             ุ
               สำนวน และกลวิธีการพรรณนาบางตอน ขณะเดียวกันเรื่องอินเหนาฉบับลาวก็แสดงลักษณะเด่นที่แตกต่างจาก

               เรื่องอิเหนาฉบับไทยหลายประการ อันเกิดจากการปรับใช้รายละเอียดและลักษณะสำคัญจากเรื่องอเหนาฉบับ
                                                                                                 ิ
               ไทยให้ผสานเข้ากับขนบวรรณคดีลาวและวัฒนธรรมประเพณีลาว รวมทั้งเกิดจากความสามารถทางวรรณศิลป์

               ของกวี


                       เรื่องอินเหนาฉบับลาวมีการขยายเพิ่มบทบาทและความสำคัญของตัวละครจระกาและ ตัวละคร
               ประกอบ ได้แก่ ยายมด และเสนาทหาร ให้มีความโดดเด่นต่างจากตัวละครเดียวกันในฉบับไทย ประการที่สอง

               เรื่องอินเหนาฉบับลาวมีการขยายเพิ่มบทพรรณนาหลายประเภทให้ละเอียดยิ่งขึ้นกว่าฉบับไทย เช่น

               บทพรรณนาธรรมชาติ บทชมขบวนเสด็จ และบทชมโฉมตัวละคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทพรรณนาธรรมชาติ

               พบว่าปรากฏมากที่สุดในเรื่อง รวมทั้งมีความสำคัญต่อเรื่องและตัวละครหลายลักษณะ


                       เรื่องอินเหนาฉบับลาว รังสรรค์ขึ้นจากความสามารถของกวีในการปรับสร้างนิทานจากต่างชาติให้

               ผสานเข้ากับขนบวรรณคดีลาว วัฒนธรรมประเพณีลาว และอัจฉริยภาพทางวรรณศิลป์ของกวีได้
               อย่าง กลมกลืน ทำให้เรื่องอินเหนาฉบับนี้เป็นวรรณคดีประจำชาติลาวเรื่องหนึ่งที่มีคุณค่าและเอกลักษณ์

               สะท้อนตัวตนความเป็นลาว และแสดงความเจริญรุ่งเรืองทางภาษาและวรรณศิลป์ลาวอย่างชัดเจน (ธานีรัตน์

               จัตุทะศรี,2559,น.ฌ)






















                                                                                                    หน้า | 31
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39