Page 30 - อิเหนา
P. 30

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               เหตุที่คนไทยนิยมเรื่องอิเหนาและดาหลัง


                       มูลเหตุที่เรานิยมวรรณคดีจากชวาทั้งสองเรื่องนี้ คงจะเป็นเพราะเป็นวรรณคดีที่มีลักษณะคล้ายคลึง

               กับวรรณคดีไทยหลายประการ เช่น


                       1). พระเอกเป็นคนเจ้าชู้ นิทานปันหยีทุกเรื่องอิเหนาต้องหลงรักผู้หญิงอื่นก่อนพบคู่หมั้น ในดาหลัง

               อิเหนาได้ชายามาแล้ว 3 คนก่อนจะพบบุษบา ในอิเหนา อิเหนาก็ได้พบนางมาหยารัศมี นางกะรัตปาตี

                                                                                                        ี
               นางจินตะหรา ก่อนพบบุษบา และหลังจากพบบุษบาแล้ว อิเหนายังได้ราชธิดาเมืองต่าง ๆ เป็นชายาอก
               นับไม่ถ้วน ในระหว่าง “มะงุมมะงาหรา” ในวรรณคดีไทยนิยมพระเอกเจ้าชู้แบบปากว่ามือถึงเสียด้วย และ

               มีความรักเพราะหลงใหลในความงาม อย่างอิเหนาไม่เคยได้ข่าว ความงามของบุษบาเลย ตอนที่ได้รับจดหมาย

               จากท้าวกุเรปัน ขอให้ยกทัพไปช่วยเมืองดาหาเพราะ เกิดศึกชิงตัวบุษบาขึ้น อิเหนายังนึกว่า


                       “บุษบาจะงามสักเพียงไร       จึงต้องใจระตูทุกบุรี


                       หลงรักรูปนางแต่อย่างนั้น    จะพากันมาม้วยไม่พอที่


                       แม้นงามเหมือนจินตะหราวาตี   ถึงจะเสียชีวีก็ควรนัก”

                       เมื่อเสร็จศึก อิเหนาเข้าเฝ้าท้าวดาหา ท้าวดาหาได้ให้บุษบาออกมาไหว้ พออิเหนาเหลียวไปรับ ไหว้ก็

               พบว่า


                       “งามจริงยิ่งเทพนิมิต        ให้คิดเสียดายเป็นหนักหนา


                       เสโทไหลหลั่งทั้งกายา        สะบัดปลายเกศาเนืองไป


                       กรกอดอนุชาก็ตกลง            จะรู้สึกพระองค์ก็หาไม  ่


                       แต่เวียนจูบสียะตรายาใจ      สำคัญพระทัยว่าเทวี

                       ความรักรุมจิตพิศวง          จนลืมองค์ลืมอายนางโฉมศรี


                       ไม่เป็นอารมณ์สมประดี        ภูมิหลงขับขึ้นฉับพลัน”


                       ถ้าเทียบกับวรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ จะเห็นว่าบุคลิกภาพของตัวละครเอกฝ่ายชายจะเหมือนกัน เช่น

               พระลอ ขุนแผน ไกรทอง ฯลฯ เจ้าชู้แบบปากว่ามือถึงทั้งสิ้น


                       2). การท่องเที่ยว เป็นอีกลักษณะหนึ่งที่ในวรรณคดีไทยนิยมมาก การผจญภัยของตัวเอกใน นิทาน
               จักร ๆ วงศ์ ๆ ก็เหมือนกัน การ “มะงุมมะงาหลา” ในเรื่องอิเหนาเพราะตอนนี้มีจุดประสงค์ที่จะแสดงให้เห็น

               ว่าพระเอกมีความเก่งกล้าสามารถในการรบ ในระหว่างการท่องเที่ยวร่อนเร่ก็จะไปตามเมืองต่าง ๆ บางเมืองก็




                                                                                                    หน้า | 27
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35