Page 28 - อิเหนา
P. 28
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
ความสำคัญของเรื่องอิเหนาต่อสังคมไทย
เรื่องอิเหนาเป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาสำหรับเล่นละครในโดยเฉพาะ ผู้แต่งสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นการสื่อใน
การรับรสทางศิลปะ ในการแสดงละครจะมีอยู่คนกลุ่มหนึ่งเป็นตัวกลางถ่ายทอดศิลปะมายังผู้ชม ดังนั้นเราจะ
ได้รับอรรถรสของเรื่องอิเหนาอย่างสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้ชมการแสดง อย่างไรก็ตาม การอ่านพระราชนิพนธ์
อิเหนาก็ทำให้เราได้รับรสวรรณคดีอย่างครบถ้วน
บทละครเรื่องอิเหนาแต่งขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับประเพณีการแสดงละครรำ และลักษณะเฉพาะของ
ละครใน การดำเนินเรื่อง การแต่งบทร้อง การให้ทำนองและความยาวของบทร้อยกรองเข้ากันได้กับลีลา
ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงที่ประณีตงดงามยิ่ง ในบทละครประกอบด้วยท่ารำและทำนองเพลง ซึ่งสัมพันธ์กับ
ความหมายของถ้อยคำพรรณนาบทต่างๆ เช่น บทชมโฉม บทสรงทรงเครื่อง บทชมระบวนทัพ บทชมกระบวน
รบ บทพรรณนาธรรมชาติ และบทสนทนาได้ตอบที่อ่อนหวานแทรกไว้ด้วยอารมณ์หลายอารมณ์
่
ถึงแม้เรื่องอิเหนาจะเป็นของชวามากอนก็ตาม ฉากและบรรยากาศในท้องเรื่องก็เป็นแบบไทย ๆ ทั้งสิ้น
ยกเว้นชื่อตัวละคร และศัพท์บางคำที่ได้มาจากคำชวาเท่านั้น การบรรยายภาพนครวงศ์เทวาทั้งสี่นคร
ก็บรรยายตามสภาพของกรุงเทพฯ สมัยนั้นขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ก็เป็นแบบไทย ภาพชีวิตของ
ประชาชน ความเป็นอยู่ในสังคม ก็เป็นแบบไทยทั้งสิ้น คนอ่านหรือคนดูละครจึงมีความรู้สึกเป็น
อันหนึ่งอันเดียวกับตัวละครได้โดยสนิทใจ
ผู้อ่านบทละคร หรือผู้ดูละคร ต้องการความบันเทิง และการผ่อนคลายอารมณ์จากความตึงเครียด
ต้องการจุดอารมณ์บางอย่างให้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ ตื่นเต้นสะเทือนใจให้
เกิดอารมณ์เหล่านี้ได้ และยังเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความรักโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องรักประกอบการผจญภัย
ซึ่งเป็นที่พอใจของผู้อ่าน (เสาวลักษณ์ อนันตศานต์,2554,น.302 – 303)
หน้า | 25