Page 27 - อิเหนา
P. 27

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



                       เมื่อกวีบรรยายถึงรูปร่างลักษณะของจรกาคราวใดก็จะเน้นว่า “รูปร่างเหมือนอย่างไพร่” เพราะจรกา

               มีรูปชั่ว กำยำล่ำสัน ไม่อ้อนแอ้น สวยงามเหมือนระเด่นในวงศ์เทวาทั้งหลาย ยิ่งไปกว่านั้นจรกายังตกเป็นเหยื่อ

               แห่งวาจาประหัดประหารของพวกวงศ์เทวาอยู่เนือง ๆ เป็นต้นว่าตอนที่นางบุษบาแบกพานผ้าไปอภิวันท์ดาบส

               พอเห็นอิเหนา จรกาอยู่ข้างทาง นางก็ตกประหม่าจนพานผ้าเอียง อิเหนาช่วยเข้าไปรับไว้ จรกาเคืองแต่
                                                     ั
                                                                                  ี
               ไม่อาจว่า อะไรได้  เพราะอิเหนาเป็นญาติที่มีศกดิ์เป็นพี่ จึงเสไปว่ากับระเด่นกับอกสามองค์ว่า “อะไรกลุ่มรุมดู
                                                  ื
               เมียกันเอง เป็นพี่ชายไม่เกรงใจกัน”ผลก็คอจรกาถูกระเด่นสามองค์รุมกันเยาะเย้ยทั้งนี้ผู้แต่งคงจะต้องการเน้น
               ให้เห็นถึงความไม่เหมาะสมระหว่างจรกากับบุษบานั่นเอง


               5.ประสันตา


                       ในบรรดาพี่เลี้ยงทั้ง 4 คน ของอิเหนา ประสันตาเป็นผู้ที่มีบทบาทเด่นที่สุดเป็นคนที่มีบทบาทคล้ายกับ
               ตลกในละครนอก แต่ปรากฏว่าบทบาทของประสันตามีอยู่ไม่มาก ซึ่งไม่เหมือนกับบัญญัตินิยมในการเล่นละคร

               นอก ประสันตามักจะใช้วาจาเย้าเเหย่อิเหนาโดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับสตรีมากกว่าอย่างอื่น และเป็นเพียง

               บางครั้งเท่านั้น ซึ่งเป็นการเพิ่มสีสันของเรื่อง และเป็นไปตามแบบแผนในการเล่นละครในว่า มุ่งแสดงการร้อง

               การรำและศิลปะต่างๆมากกว่าการเล่นตลก


               6.องค์ประตาระกาหลา


                       นิทานปันหยี ฉบับปันหยี กุดา สมรัง มีตัวละครชื่อ ภัฏฏารกาละ มีลักษณะคล้ายเทพอยู่บนสวรรค์
               คอยดูแลทุกข์สุขให้แก่พระราชวงศ์ และลงโทษกษตริย์ในพระราชวงศ์เมื่อกระทำผิด เช่นเมื่ออิเหนาปฏิเสธการ
                                                        ั
               แต่งงานกับบุษบาเพราะไปหลงนางจินตะหราองค์ปะตาระกาหราจึงบันดาลให้รูปวาดนางบุษบาตกไปถึงมือ

               วิหยาสะกำ ทำให้เกิดศึกกะหมังกุหนิง แต่ในที่สุดก็ช่วยให้อิเหนาได้พบกับอุณากรรณ (บุษบา) วิยะดาและ

               สียะตราที่เมืองกาหลัง หลังจากที่ทรงทรมานอิเหนามานานพอสมควร


                       องค์ปะตาระกาหลาเท่ากับวิญญาณบรรพบุรุษ ซึ่งเมื่อพิจารณาบทบาทแล้วองค์ปะตาระกาหลานั้น
               เป็นลักษณะเดียวกับผีบรรพบุรุษ คือเดิมเป็นคน พอตายแล้วก็ไม่ไปไหน ยังสิงอยู่ในบ้านเรือน ตามปรกติเป็น

               ผีญาติผู้ใหญ่ของครอบครัว จึงเรียกว่าผีบรรพบุรุษ หรือผีปู่ย่าตายายที่คอยดูแลทุกข์สุขของลูกหลาน แต่มีฤทธิ์

               อำนาจเทียบเท่ากับเทวดาจึงสามารถบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆและสั่งสอนลงโทษลูกหลานด้วย(เสาวลักษณ์

               อนันตศานต์,2554,น.294 – 302)













                                                                                                    หน้า | 24
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32