Page 29 - อิเหนา
P. 29
- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -
ความนิยมเรื่องอิเหนา
ิ
ตั้งแต่อดีตกาลมาแล้วที่คนไทยนิยมเรื่องอเหนามากกว่าดาหลัง ทั้ง ๆ ที่นิทานปันหยีทั้งสอง สำนวนนี้
เข้ามาสู่ไทยพร้อมกัน ความนิยมในเรื่องอิเหนามากกว่าดาหลังนี้ มีมาแต่ครั้งกรุงเก่า ในสมัย
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ความข้อนี้มีหลักฐานอยู่ในหนังสือเรื่อง ปุณโณวาทคำฉันท์ ของ พระมหานาค
วัดท่าทราย ซึ่งเป็นกวีในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ กล่าวถึงละครหลวงที่เล่นในงานสมโภชพระพุทธบาทว่า
ฟายฟ้อนละครใน บริรักษ์จักรี
โรงริมคิรีมี กลลับบ่แลชาย
ล้วนสรรสกรรจ์นาง อรอ่อนลอออาย
ใครยลบ่อยากวาย จิตเพ้อมะเมอฝัน
ร้องเรื่องระเด่นได้ บุษบาตุนาหงัน
พาพักคุหาบรรณ พตร่วมฤดีโฉม
ความที่ว่าตัวเอกพาคู่หมั้นไปซ่อนไว้ในถ้ำเป็นเนื้อความที่ปรากฏอยู่ในเรื่องอิเหนาเท่านั้น ในดาหลังก็ไม่มีตอนนี้
ถ้าจะว่าไปแล้วเรื่องอิเหนาลักพานางบุษบาไปซ่อนในถ้ำจนปะตาระกาหลาบันดาลให้เกิดลมหอบเอานางไป ก็มี
แต่ในฉบับของไทยเท่านั้น ในฉบับของชวามลายูแม้จนฉบับที่ มีเนื้อความใกล้เคียงกับฉบับของไทยที่สุดก็ไม่มี
เรื่องลักพาตัว มีแต่เรื่องลมหอบ ฉะนั้นนอกจากดาหลังพระนิพนธ์เจ้าฟ้าหญิงกุณฑล ก็มีพระราชนิพนธ์ใน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล ที่ 1 อีกสำนวนหนึ่งเท่านั้น นอกจากนี้เป็นเรื่องอิเหนาทั้งสิ้น
มีหลายรูปแบบการแต่งทั้งบทละคร นิราศ และคำฉันท์ (รื่นฤทัย สัจจพันธุ์,2561,น.177)
หน้า | 26