Page 32 - อิเหนา
P. 32

- เอกสารประกอบการสัมมนาวรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน เรื่อง อิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง -



               พระราชนิพนธ์อิเหนาในรัชกาลที่ 2 ในฐานะยอดแห่งวรรณคดีบทละครใน


                       อิเหนาพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 แสดงลักษณะเด่นของนิทานปันหยีหลายประการทั้งด้านโครงเรื่อง

               และรายละเอียดเนื้อหาด้านลักษณะตัวนอก และด้านวัฒนธรรมชวามลายู ขณะที่เรื่องอิเหนาสืบทอดลักษณะ

                                                                                   ื่
               ต่าง ๆ ของนิทานปันหยี ก็มีการเสริมรายละเอียดบางประการเข้าไปในเรื่องด้วยเพอช่วยสร้างสีสัน บรรยากาศ
               และความน่าสนใจให้แก่เรื่องมากขึ้น ทำให้มีทั้งบรรยากาศไทยและชวา มลายูผสมผสานกัน และตัวละครมี
               ชีวิตชีวา กลายเป็นวรรณคดีบทละครในที่ใช้ได้ดีทั้งอ่านและแสดงละครใน


                       ลักษณะของนิทานปันหยีและรายละเดือดต่างๆ ที่เสริมเจ้าไปสร้างสีสันและบรรยากาศแก่

               เรื่องดังกล่าวนี้ กวีได้รังสรรค์ขึ้นเป็นวรรณคดีบทละครในที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้อ่านและใช้แสดง ได้ในเวลา

               เดียวกันอันเป็นธรรมชาติของวรรณคดีประเภทบทละคร


                       บทละครที่มีจุดประสงค์เพื่อใช้ทั้งอ่านและแสดงในเวลาเดียวกันนี้ เรียกว่าเป็นบทละครที่มี

               “ทวิประสงค์” ดังที่กล่าวว่า “บทละครที่แต่งไว้สำหรับเป็นบทแสดงอย่างเดียว กับบทละครที่แต่งไว้เล่นก็ได้

               อ่านก็ดีนั้นต่างกัน เพราะอย่างหลังนี้มีทวีประสงค์ที่ต้องพยายามให้ดึงดูดผู้เสพได้ทั้งสองทาง"

                       กลวิธีสำคัญในการแต่งวรรณคดีบทละครให้บรรลุ “ทวิประสงค์” ดังกล่าวนี้ก็คือ การใช้ขนบของ

               วรรณคดีไทยควบคู่กับขนบของการแสดงประเภทนั้น ๆ เป็นกรอบในการแต่ง ดังนั้นกลวิธีสำคัญในการรังสรรค์

               เรื่องอิเหนาเป็นวรรณคดีบทละครในที่งดงามสมบูรณ์ก็คือการแต่งตาม ขนบวรรณคดีไทยและขนบการแสดง

               ละครใน (ธานีรัตน์ จัตุทะศรี,2553,น.253)






























                                                                                                    หน้า | 29
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37