Page 2 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 2

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                       โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว



               ประวัติ


               สุภาษิต


                       น. ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายเป็นคติสอนใจ เช่น รักยาวให้บั่น
               รักสั้นให้ต่อ นํ้าเชี่ยวอย่าขวางเรือ. (ส.; ป. สุภาสิต ว่า ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว). (ราชบัณฑิตยสถาน ,2554)


                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้รอบรู้ในวิทยาการต่าง ๆ เพราะทรง ใฝ่ศึกษา

               ค้นคว้าทั้งทางโลกและทางธรรม ได้รับราชสมบัติตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์จึงทรงมีความรู้สึกนึกคิดในการปกครอง

               คนว่ามีความยากลำบากเพียงใด ตลอดสมัยของพระองค์มีแต่ความคิดริเริ่มในการพัฒนาประเทศให้

               เจริญรุ่งเรือง และต้องต่อสู้กับวิถีทางการเมืองที่ต่างประเทศบีบคั้นจิตใจอยู่ตลอดรัชกาล สิ่งที่ทรงประสบพบ

               เห็นเหล่านี้ นำให้พระองค์ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตไว้สอนใจ ข้าราชบริพารและพสกนิกรของพระองค์ได้
               อย่างดียิ่ง โคลงสุภาษิตนั้นประกอบด้วยคติธรรม โลกียวิสัย ปรัชญาชีวิต และอื่น ๆ ล้วนเป็นโคลงสุภาษิตที่เป็น

               อมตะซึ่งเรานำมากล่าวอ้างกันอยู่เสมอ (ทวีศักดิ์ ญาณประทีป,2530,น.166)


                       พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตคำสอนเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงพระชนมายุ 24-40 พรรษา พระองค์เป็น

               พระมหากษัตริย์ที่ทรงครองราชย์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ คือ เมื่อปีพุทธศักราช 2411 ขณะมีพระชนมายุเพียง

               15 พรรษาเท่านั้น ต่อมาในปีพุทธศักราช 2416 จึงทรงเข้าพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่สอง เมื่อมี

               พระชนมายุได้ 20 พรรษา บทพระราชนิพนธ์สุภาษิตคำสอนนี้ จึงเป็นแนวพระราชดำริของพระมหากษัตริย์
               สยาม ที่ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นจาก ประสบการณ์ชีวิต ที่ทรงผ่านมาแล้วทั้งวัยรุ่น วัยครองรัก-ครองเรือน

               รวมทั้งการครองบ้านเมือง-พระราชอาณาจักรสยาม ในช่วงที่เป็น หัวเลี้ยวหัวต่อของบ้านเมือง และเป็นช่วงที่มี

               ความเปลี่ยนแปลง สูงสุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์พัฒนาการราชอาณาจักรสยาม การอ่านเชิงวิเคราะห์และ

               ตีความพระราชดำริ จึงควรดำเนินไปพร้อม ๆ กับการศึกษาพระราชประวัติและพระราชภารกิจของพระองค์

               ท่านใน แต่ละระยะ จึงจะเข้าใจซาบซึ้งว่า งานพระราชนิพนธ์นี้ เป็นผลึกของประสบการณ์ของผู้ที่ผ่านร้อน
               หนาวมาแล้วอย่างโชกโชน และ ต้องใช้พระวิริยะอุตสาหะเพียงใด จึงทรงสามารถนำพาพระราชวงศ์ ข้าราช

               บริพาร และพสกนิกร ด้วย “ใจ” มิใช่ “อำนาจ” เพราะเหตุนี้ จึงทรงสามารถ “ชนะใจ และครองใจ” ของมวล

               ประชาราษฎร์จน ตราบเท่าทุกวันนี้ (กรมวิชาการ,2542,น.12)


               มีทั้งหมด 11 เรื่อง ได้แก่


               1. สุภาษิตบางปะอิน


               2. โคลงกระทู้สุภาษิต


                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน   1
   1   2   3   4   5   6   7