Page 4 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 4

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                                               โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางศ์


               1.ประวัติ


                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาอังกฤษ โสฬส ไตรยางศ์

               แปลว่า องค์สาม 16 ประการ คือการรวบรวมสิ่งที่ควรและไม่ควรเพื่อเป็นแบบฉบับสำหรับผู้ประสงค์สวัสดิ

               มงคล (ทวีศักดิ์ ญาณประทีป,2530,น.174)


                       “โสฬส” เป็นศัพท์บาลี แปลว่า สิบหก ในโคลงสุภาษิต “โสฬส” หมายถึง จำนวนโคลงสุภาพ 16 บท

                                                                       2
               ที่เป็นข้อแนะนำสิ่งซึ่งควรแสวงหาหรือควรละเว้น ส่วน “ไตรยางค์ ” เป็นศัพท์จากสันสกฤต (ตฺรยํค) แปลว่า
               “องค์สาม”ในพระราชนิพนธ์นี้ “ไตรยางค์” หมายถึงจำนวนสิ่งที่ควรแสวงหาหรือควรละเว้น ซึ่งในโคลงแต่ละ

               บทจะมีอยู่ 3 สิ่ง เช่นบทที่หนึ่งกล่าวถึงสามสิ่งควรรัก ได้แก่ ความกล้า ความสุภาพ และความรักใคร่ บทที่สอง

               กล่าวถึงสามสิ่งที่ควรชม ได้แก่ อำนาจปัญญา เกียรติยศ และมารยาทดี เป็นต้น


                       โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประพฤติตนที่ครอบคลุมกว้างขวางตั้งแต่เรื่อง

               ของตัวเราเอง มิตรสหาย ชาติบ้านเมือง ไปจนถึงสัจธรรมชีวิต บุคคลผู้ใดเชื่อว่าบัณฑิตควรชอบและชื่นชม

               ความกล้า ความสุภาพ ปัญญา เกียรติยศ มารยาท ฯลฯ ซึ่งหมายถึงควรแสวงหาสิ่งเหล่านี้มาเป็นคุณลักษณะ
               ของตนเองและควรชื่นชมหรือผูกมิตรกับผู้มีคุณลักษณะดังกล่าวด้วย นอกจากนี้ยังควรรังเกียจและละเว้นจาก

               ความริษยา ความเกียจคร้าน การพูดปด การพูดหยาบคาย ฯลฯ  ซึ่งหมายถึงการไม่ประพฤติตนเช่นนั้น และไม่

               ผูกมิตรกับผู้ที่มีนิสัยเช่นนั้นด้วย ความเจริญก้าวหน้าและความเป็นสวัสดิมงคลย่อมเกิดแก่ผู้ปฏิบัติตาม

               ข้อแนะนำดังกล่าวตลอดจนสังคมรอบข้าง


                       ต่อจากนั้น เราควรต่อสู้เพื่อธำรงรักษาคุณความดีต่าง ๆ และชื่อเสียงยศศักดิ์เอาไว้ ตลอดจนต่อสู้ผู้ที่

               เบียดเบียนรุกรานมิตรสหายและบ้านเมืองเราด้วย ข้อแนะนำนี้ยังรวมไปถึงการเตรียมใจให้พร้อมสำหรับความ
               เปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เป็นสัจธรรมชีวิต ได้แก่ ความไม่แน่นอน ความชรา และความตาย ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจ

               ชีวิตไม่ประมาท และไม่ทุกข์ระทมเมื่อประสบความผิดหวัง  ชีวิตก็จะเป็นสุข สมดังพระราชประสงค์ของผู้ทรง

               พระราชนิพนธ์ที่ว่า


                       หวังสวัสดิ์ขจัดทุกข์สร้าง สืบสร้างกุศล (กรมวิชาการ,2542,น.85-86)












               2  สะกดตามต้นฉบับ

                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน   3
   1   2   3   4   5   6   7   8   9