Page 9 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 9

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                              " เกียจคร้านการท่านทั้ง        การตน ก็ดี


                              พูดมากเปล่าเปลืองปน          ปดเหล้น


                              คำแสลงเสียดแทงระคน           คำหยาบ หยอกฤๅ

                              สามสิ่งควรทิ้งเว้น                  ขาดสิ้นสันดาน "





                       จากตัวอย่างจะเห็นว่าในบาทที่1 มีสัมผัสสระคือคำว่า คร้าน การ ท่าน สัมผัสอักษรคือคำว่า ท่าน ทั้ง

               บาทที่ 2 มีแต่สัมผัสอักษรคือคำว่า เปล่า เปลือง ปน ปด บาทที่ 3 มีสัมผัสสระคือคำว่า แสลง แทง สัมผัส

               อักษรคือคำว่า แสลง เสียด หยาบ หยอก และบาทที่ 4 มีสัมผัสสระคือคำว่า สิ่ง ทิ้ง สัมผัสอักษรคือคำว่า สาม

               สิ่ง สิ้น สัน เป็นต้น

               3.2 คุณค่าด้านความรู้


                       3.2.1 ให้แนวทางในการดำเนินชีวิต โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์นี้เป็นวรรณคดีที่ให้ความรู้ในเรื่อง

               ของสิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ซึ่งแนวทางที่กวีได้นำเสนอเอาไว้นี้ ถ้าผู้อ่านนำไปปฏิบัติก็จะทำให้

               ผู้อ่านมีความสุขและประสบความสำเร็จในการทำงาน


                       3.2.2 ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม คือให้ข้อคิดในเรื่องการดำเนินชีวิตว่าควรปฏิบัติ

               ตนอย่างไร เช่น ในเรื่องของการคบเพื่อน เรื่องของการใช้วาจา เป็นต้น

                       3.2.3 แสดงให้เห็นถึงสัจธรรม คือ เตือนให้ผู้อ่านดำรงสติมั่นและไม่ตั้งอยู่ในความประมาท


                คอยรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น คือ ความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ความชรา และความ

               ตาย


               3.3 คุณค่าด้านสังคม


                       3.3.1 สะท้อนให้เห็นค่านิยมในสังคมไทย เช่น ค่านิยมเรื่องการรักเกียรติยศ การนับถือผู้มีอำนาจ

               และการชื่นชมคนมีมารยาทดี ดังความว่า













                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน   8
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14