Page 12 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 12

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                                                โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ


               1.ประวัติ


                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์แปลจากภาษาอังกฤษ แปลว่า อาการ

               อันไม่มีเสียใจ ประกอบด้วยกิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ เนื้อความเป็นสุภาษิตที่อ่านเข้าใจ

               เพราะเป็นภาษาง่าย ไม่มีข้อสงสัย (ทวีศักดิ์ ญาณประทีป,2530,น.175)


                       สันนิษฐานว่าพระองค์ทรงพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เมื่อปี พ.ศ. 2423 ทรงแปลจาก

               ภาษาอังกฤษ แล้วทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงสี่สุภาพ มีบทนำ 1 บท เนื้อเรื่อง 10 บท และบทสรุป 1 บท
               เนื้อหาของโคลง เป็นข้อแนะนำทั้งทางด้านมโนกรรม วจีกรรม และกายกรรม ซึ่งครอบคลุมและ เหมาะสมที่จะ

               เป็นเกราะป้องกันผู้ประพฤติมิให้ต้องเสียใจเพราะสิ่งที่ตนคิด พูด และกระทำ


                       นฤทุมนาการเป็นคำสมาสที่มีการเชื่อมเสียง แยกได้ดังนี้ นฤทุมน + อาการ (อาการ แปลว่า สภาพ

               กิริยา) นฤทุมน แยกศัพท์ ได้อีกชั้นหนึ่งเป็น นฤ + ทุมน (นฤ เป็นอุปสรรคแปลว่า ปราศจาก ไม่) ทุมน แยก

               เป็น ทุ+มน (ทุ เป็นอุปสรรคแปลว่าไม่ดี เสีย มน แปลว่า ใจ) รวมความว่า สภาพที่ปราศจาก ความเสียใจหรือ

               สภาพที่ไม่ทำให้เสียใจ


                       โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการมีเนื้อหาแสดงกิจ ประการ ที่เป็น ข้อแนะนำการประพฤติตนให้เหมาะสมทั้ง
                                                                               ื่
                                                                                                     ู
               การคิด การพูด และการกระทำ เริ่มตั้งแต่ทำความดีโดยทั่วไป ไม่พูดร้ายต่อผู้อน ฟังก่อนตัดสิน คิดก่อนพด ไม่
               พูดเวลาโกรธ กรุณาต่อผู้อับจน ขอโทษเมื่อกระทำผิด อดกลั้นต่อผู้อน ไม่ฟังคำพูดไร้สาระ และไม่หลงเชื่อข่าว
                                                                       ื่
               ร้าย (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2558,น.148-149)


                       ในช่วงชีวิตของคนหนึ่ง ๆ คงจะมีหลายครั้งที่เราทำสิ่งใดไปแล้วมารู้สึกเสียใจภายหลังว่าได้ทำผิดพลาด

               แล้วมักจะคิดว่าถ้ารู้อย่างนี้ ก็จะไม่ทำ นักปราชญ์โบราณท่านจึงพร่ำสอนให้ไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนจะพด
                                                                                                        ู
               หรือทำสิ่งใด ดังเช่น คำสอนที่ปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ

                       ทศนฤทุมนาการ หมายถึง “กิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ” (ทศ คือ สิบ ; นฤ คือ ไม่ ;

               ทุมนาการ คือ ความเสียใจ , โทมนัส)


                       โคลงสุภาษิต 10 บท เป็นข้อแนะนำให้รู้จักอดกลั้นและไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนพูดหรือทำสิ่งใด

               เพราะคนที่คิดก่อนพูดนั้นจะเป็นผู้ที่ พาทีมีสติรั้ง รอคิด คำพูดที่ออกมาจึงเหมาะสมและไพเราะราวกับได้

               เตรียม ลิขิต เขียนร่าง มาก่อนในยามโกรธให้ระงับวาจาไว้ก่อนเมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วจึงค่อยพูด เมื่อทำผิด
               ให้กล่าวขอโทษซึ่งจะ ดีกว่าปดอ้อมคอม คิดแก้โดยโกง และให้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ พูดส่อเสียด และพด
                                             ้
                                                                                                        ู
                                     ู
               ให้ร้ายผู้อื่น นอกจากการพดแล้วยังมีข้อแนะนำในการฟงว่า ไม่ควรฟังคำเท็จหรือคำนินทา ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย
                                                             ั


                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน  11
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17