Page 15 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 15

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                       4. เพราะคิดเสียก่อนจึงพูด หมายความว่า ก่อนที่จะพูดสิ่งใดควรตั้งสติ คิดให้รอบคอบเสียก่อนว่า

               เรื่องที่จะพูดนั้นผิดหรือถูก เพราะการพูดก็เปรียบเสมือนการเขียนที่มีการเรียบเรียงไว้ หากพูดเพราะก็จะเป็นที่

               น่าฟัง และไม่เป็นภัยต่อตัวผู้พูดด้วย

                       5. เพราะงดพูดในเวลาโกรธ หมายความว่า ให้รู้จักหักห้ามตนเอง ไม่ให้พูดในขณะ   ที่ยังโกรธอยู่ให้

               หยุดคิดพิจารณาก่อนว่า พูดแล้วจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ หรือพูดไปแล้วจะเป็นฝ่ายถูกหรือฝ่ายผิด หากไม่รู้จัก

               ยั้งคิดอาจเกิดความเสียหายได้


                       6. เพราะได้กรุณาต่อคนที่ถึงอับจน หมายความว่า การมีความเมตตากรุณาต่อผู้ประสบภัยพิบัติ และ

               ช่วยเขาให้อยู่รอดปลอดภัย ก็จะเกิดผลดีต่อผู้ที่ช่วยเหลือนั้นในอนาคตเป็นแน่แท้ และผู้คนก็จะพากันยกย่อง

               สรรเสริญ


                       7. เพราะขอโทษในบรรดาที่ได้ผิด หมายความว่า เมื่อกระทำการสิ่งใดแล้ว หากเกิดความผิดพลาด ก็
               ควรลดความอวดดีลง และรู้จักการกล่าวขอโทษเพื่อลดความบาดหมางเพราะดีกว่าคิดหาทางแก้ไขด้วยการ

               โกหก


                       8. เพราะความอดกลั้นต่อผู้อื่น หมายความว่า ให้มีขันติ คือ มีความอดทน อดกลั้นต่อผู้ที่มาข่มเหง

               รังแก ไม่ฉุนเฉียวเหมือนคนพาล จะได้ชีอว่าเป็นใจเย็น


                       9. เพราะไม่ฟังคำพูดเพศนินทา หมายความว่า ไม่ควรฟังคนที่ชอบพูดจาฟั่นเฝือ   เพ้อเจ้อ พูดแบบมี
               ข้อเท็จจริงบ้างหรือไม่มีข้อเท็จจริงบ้าง คนที่ประพฤติและปฏิบัติตนเช่นนี้เปรียบเสมือนคนที่ถูกมีดกรีดเนื้อไป

               ทั่วร่างกาย หากไม่หลีกไปให้ห่างแล้ว เราอาจเข้าไปอยู่ในพวกพูดจาเหลงไหล


                       10. เพราะไม่หลงเชื่อข่าวร้าย หมายความว่า ไม่ควรด่วนหลงเชื่อหรือตื่นเต้นกับ    ข่าวร้ายที่มีผู้นำ

               มาบอก ควรสืบสาวเรื่องราวที่แท้จริงก่อน (ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ,2562,น.210-211)


               3. คุณค่า


               3.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์


                       3.1.1 กำหนดคำให้มีความเหมาะสมกับฉันทลักษณ์ กล่าวคือ โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ แต่งเป็น
               โคลงสี่สุภาพ ดังนั้นกวีจึงจำเป็นต้องใช้คำที่จำกัด เพื่อให้ได้ความหมายที่ชัดเจน และในบางวรรคกวีก็ใช้คำ

               โบราณซึ่งเหมาะกับคำประพันธ์ประเภทโคลงสี่สุภาพ เช่น ห่อน ไป่ บ้าย บ่ โสต ปาง ป่าง ฯลฯ












                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน  14
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20