Page 17 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 17
- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -
4
เข็ญ ส่วนสัมผัสสระมีปรากฏในบาทที่ 3 และบาทที่ 4 คือคำว่า หยาบ จาบ (ในบาทที่ 3) และ หมิ่น นินทา,
ให้ ใด (ในบาทที่ 4)
3.2 คุณค่าด้านความรู้
3.2.1 ให้ความรู้เรื่องการปฏิบัติตนเมออยู่ร่วมกับผู้อื่น กล่าวคือ สะท้อนให้เห็นแนวคิดในการดำเนิน
ื่
ชีวิตหลายประการทั้งด้านจิตใจ ความคิด การพูดและการกระทำ ซึ่งเป็นคำสอนในเรื่องของการปฏิบัติตนเมื่อ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นทั้งสิ้น ดังนั้นโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการจึงเป็นวรรณกรรมคำสอนที่สอนให้ทุกคนปรับตัวอยู่กับ
ผู้อื่นได้อย่างสงบสุข เช่น ไม่ใส่ร้ายป้ายสีใคร ไม่พูดจาให้ร้ายจนทำให้เกิดความบาดหมางกัน ให้ทำดีกับคน
ทั่วไปเพราะเขาจะได้ชื่นชอบในตัวเราซึ่งเป็นการสร้างมิตรที่ดีไว้ด้วย
3.2.2 สอนให้คิดอย่างรอบคอบ กล่าวคือ ก่อนจะลงมือกระทำการสิ่งไรควรคิดให้รอบคอบเสียก่อน
ว่าจะเกิดประโยชน์หรือโทษ เช่น ไม่ควรฟังคำนินทา ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย เป็นต้น
3.3 คุณค่าด้านสังคม
3.3.1 สะท้อนให้เห็นค่านิยมเรื่องความประพฤติ กล่าวคือ สะท้อนให้เห็นว่าการมีความประพฤติที่ดี
จะเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดังความจากบทประพันธ์ว่า
" ทำดีไป่เลือกเว้น ผู้ใด ใดเอย
แต่ผูกไมตรีไป รอบข้าง
ทำคุณอุดหนุนใน การชอบ ธรรมนา
ไร้ศัตรูปองมล้าง กลับซ้องสรรเสริญ "
ความจากบทประพันธ์นี้สะท้อนให้เห็นว่า การทำความดีนั้นควรทำให้แก่ทุกคนไม่เลือกผู้ใด และการ
ทำความดีโดยไม่เลือกหน้าย่อมจะทำให้ผู้ทำความดีนั้นมีมิตรสหายมาก และเป็นที่ยกย่องสรรเสริญด้วย
3.3.2 สะท้อนให้เห็นวัฒนธรรมด้านการพูด การพูดถือเป็นเรื่องสำคัญต่อสังคมไทย อย่างยิ่ง คนเรา
จะรักกันหรือจะเกลียดกัน ล้วนมีพื้นฐานมาจากการพูดทั้งสิ้น ดังนั้นโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการจึงเน้นเรื่องการ
พูดเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะให้คิดก่อนพูด ดังตัวอย่าง
4 เนื้อหาตามต้นฉบับ
วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน 16