Page 20 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 20

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                                                              ิ
                                               โคลงสุภาษิตอศปปกรณำ


               1.ประวัติ


                                            5
                       โคลงสุภาษิตอิสปปกรณัม นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้ท้าย
               นิทานที่ทรงแปลมาจากภาษาอังกฤษ เป็นการสรุปเรื่องนั้นเอง มีทั้งหมด 24 บท คือ 24 เรื่อง ได้แก่เรื่องสุนัข

               ป่ากับลูกแกะ เรื่องค้างคาวกับวิเซล เรื่องลากับตั๊กแตน เรื่องสุนัขป่ากับนกกระเรียน เรื่องคนเผาถ่านกับช่าง

               ฟอก เรื่องเด็กจับตัวเพลีย เรื่องไก่กับพลอย เรื่องมดกับตั๊กแตน เรื่องอาณา จักรแห่งราชสีห์ เรื่องนายประมง

               เป่าขลุ่ย เรื่องกระต่ายกับเต่า เรื่องคนเดินทางกับสุนัขที่เลี้ยง เรื่อง เทวดากับคนเข็นเกวียน เรื่องสุนัขกับเงา

               เรื่องลูกตุ่นกับแม่ตุ่น เรื่องนกแซงแซวกับกา เรื่องชาวนากับงู เรื่องโคบาลกับโคที่หาย (ทวีศักดิ์ ญาณประทีป

               ,2530,น.168)

                                  ี
                                            6
                       โคลงสุภาษิตอศปปกรณำ นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ เมื่อ พ.ศ.
               2447 โดยทรงแปลนิทานอีสปเป็นภาษาไทย แล้วทรงพระราชนิพนธ์โคลงสี่สุภาพกำกับไว้ท้ายนิทานแต่ละเรื่อง


                       โคลงชุดนี้ได้ชื่อว่า อีศปปกรณำ (ปกรณำ แปลว่า เรื่องราว หนังสือ) ส่วน อีศปนั้นมาจากชื่อกลุ่ม

               นิทาน กล่าวคือ นิทานอีสปนั้นแต่เดิมชาวกรีกชื่อ Aesop เล่าไว้เมื่อศตวรรษที่ 6 ก่อน คริสตศักราช นิทาน

               เหล่านั้นมักเป็นเรื่องสั้น ๆ มีการเปรียบเปรยเป็นคติสอนใจ


                       นิทานสุภาษิตที่รวบรวมไว้มี 24 เรื่อง แต่ที่กระทรวงศึกษาธิการได้คัดมาให้นักเรียนศึกษา มี 4 เรื่อง

               คือ ราชสีห์กับหนู บิดากับบุตรทั้งหลาย สุนัขป่ากับลูกแกะ และกระต่ายกับเต่า เหตุที่เลือกเอา 4 เรื่องนี้มานั้น
               คงเป็นเพราะว่า มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัยและประสบการณ์ของนักเรียน (ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพญ
                                                                                                        ็
               เหลืองอรุณ,2562,น.219)


                       พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์แปลนิทานอีสปไว้ 24 เรื่อง และทรง

               พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตประกอบนิทานร่วมกับกวีอีก 3 ท่าน คือ กรมหลวงพิชิตปรีชากร พระยาศรีสุนทร

               โวหาร และพระยาราชสัมภารากร โคลงสุภาษิตดังกล่าว รวมเรียกว่า โคลงสุภาษิตอิศปปกรนำ

                       คำว่า ปกรณำ ในชื่อพระราชนิพนธ์เรื่องนี้มาจากศัพท์ภาษาบาลีว่า ปกรณํ แปลว่า คัมภีร์ ตำรา

               หนังสือ เรื่อง ในที่นี้ หมายถึง เรื่อง ในภาษาไทยใช้ ปกรณัม ดังปรากฏในชื่อหนังสือ รวมนิทานของไทยหลาย









               5  สะกดตามต้นฉบับ

               6  สะกดตามต้นฉบับ


                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน  19
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25