Page 19 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 19
- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -
คำว่า เหินห่าง เป็นคำไทยแท้เห็นภาพชัดเจนว่าหมายถึงหลีกให้ห่างไกล โมหะ หมายถึง ความหลง
ร้อน เป็นลักษณะของโทสะ ริษยา เป็นคำที่ทุกคนเข้าใจ ซึมซาบอยู่แล้วว่าหมายถึงความเร่าร้อนมุ่งทำลายผู้อน
ื่
ที่ดีกว่าตน คำต่างๆ ใน 3 บาทต่อมาแสดงถึง “วจีทุจริต 10 ประการ” ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ ส่อเสียด กล่าว
เท็จ ใส่ร้าย หยาบคาย จาบจ้วง อาฆาต ขู่เข็ญ ดูหมิ่น นินทา และปัด ความผิดให้แก่ผู้อื่น ทั้งนี้ โดยใช้คำ สละ
ซึ่งแปลว่า ทิ้งเสีย นำไว้ข้างหน้าเพื่อ แนะนำให้เว้นวจีทุจริตทั้ง 10 ข้อนั้น
โคลงสี่สุภาพในพระราชนิพนธ์สุภาษิตนี้มีลีลาที่กระชับ เดินเนื้อความอย่างมีเอกภาพ สัมพันธภาพ
และสารัตถภาพ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
พาทีมีสติรั้ง รอคิด
รอบคอบชอบแลผิด ก่อนพร้อง
คำพูดพ่างลิขิต เขียนร่าง เรียงแฮ
ฟังเพราะเสนาะต้อง โสตทั้งห่างภัย
ู
โคลงบทนี้แสดงเนื้อความชัดเจนเพียงหนึ่งประเด็นไว้ในบาทที่ 1 พาที มีสติรั้ง รอคิด คือให้คิดก่อนพด
ในบาทที่ 2 ขยายความบาทที่ 1 เพิ่มเติม ใน บาทที่ 3 และบาทที่ 4 แสดงผลของการคิดก่อนพดว่า คำพดของ
ู
ู
ผู้ที่คิดก่อนพูด นั้นเหมาะสมและไพเราะราวกับได้เตรียม ลิขิต เขียนร่าง ซึ่งส่งผลดีแก่ตัวคือ ห่างภัย
กล่าวได้ว่าโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการเป็นวรรณกรรมคำสอนที่ทรงคุณค่า สอนคติธรรมที่เป็นประโยชน์
สามารถนำไปใช้เป็นข้อเตือนใจในชีวิต ประจำวันได้ ในแง่วรรณศิลป์ พระราชนิพนธ์สุภาษิตนี้ก็งดงามด้วยลีลา
ภาษาทเรียบง่ายแต่ลึกซึ่งเป็นแบบอย่างของการประพันธ์โคลงสี่สุภาพที่มีเนื้อหาสั่งสอนได้เป็นอย่างดี
ี่
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2558,น.149-151)
วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน 18