Page 16 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 16
- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -
3.1.2 ใช้คำบาลีสันสกฤต ทำให้โคลงสุภาษิตนฤทุมนาการมีรูปภาษาที่สวยงามและยังช่วยให้เกิด
เสียงสัมผัสอันไพเราะระหว่างคำไทยด้วย สำหรับคำบาลีสันสกฤตที่กวีนำเอามาใช้นั้น เช่น บัณฑิต ทศ นฤ ทุ
มน โมหะ โสต อาฆาต นรชน กษัย ทิฐิ ขันตีกาล เป็นต้น
3.1.3 ใช้สำนวนเปรียบเทียบ ซึ่งช่วยทำให้ผู้อ่านเห็นภาพ เกิดความเข้าใจได้ง่ายและซาบซึ้งกับ
ความหมายของบทประพันธ์ ดังตัวอย่าง
" คำพูดพ่างลิขิต เขียนร่าง เรียงแฮ "
" คือมีดเที่ยวกรีดเนื้อ ท่านทั่ว ไปนา "
3.1.4 มีการซ้ำคำ ซึ่งช่วยเสริมให้ใจความมีความหนักแน่นมากขึ้น เช่น คำว่าใดใด ห้วนห้วน
3.1.5 มีการซ้อนคำ ทั้งนี้เพื่อเน้นความหมายให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และช่วยให้เกิดความไพเราะจาก
เสียงสัมผัสอักษร คำซ้อนที่ปรากฏในโคลงสุภาษิตนฤทุมนาการ เช่น อุดหนุน ส่อเสียด จาบจ้วง ขู่เข็ญ เด็ดด้วน
ขุ่นแค้น ฯลฯ
ี
3.1.6 มีการใช้สัมผัส ซึ่งปรากฏว่ามีทั้งการใช้สัมผัสสระกับสัมผัสอักษรทำให้เกิดเสียงที่ไพเราะอก
เช่นกัน ดังตัวอย่าง
“ เหินห่างโมหะร้อน ริษยา
สละส่อเสียดมารษา ใส่ร้าย
คำหยาบจาบจ้วงอา ฆาตขู่ เข็ญเอย
ไป่หมิ่นนินทาบ้าย โทษให้ผู้ใด ”
จากโคลงที่ยกมาเป็นตัวอย่างจะเห็นว่า บาทที่ 1 มีสัมผัสอักษรคือคำว่า เหิน ห่าง โมหะ, ร้อน ริษยา
บาทที่ 2 มีสัมผัสอักษรคือคำว่า สละ ส่อ เสียด มารษา ใส่ บาทที่ 3 มีสัมผัสสระคือคำว่า จาบ จ้วง, อาฆาต ขู่
วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน 15