Page 13 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 13
- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -
และควรสอบถามให้สิ้นสงสัยก่อนตัดสินเรื่องใด ๆ ส่วนข้อแนะนำในเรื่องการกระทำนั้น ให้ทำดีและผูกไมตรีกับ
ทุกคน หากมีใครมาเกะกะระรานให้อดกลั้นอย่ากระทำ เฉกพาล โต้ตอบไป
โคลงสุภาษิตทั้ง 10 บท เป็นข้อแนะนำทั้งทางด้านมโนกรรม (การคิด) วจีกรรม (การพูด) และ
กายกรรม (การกระทำ) ซึ่งครอบคลุมและเหมาะสมที่จะเป็นเกราะป้องกันผู้ประพฤติมิให้ต้องเสียใจเพราะสิ่งที่
ตนคิด พูด และกระทำ( กรมวิชาการ,2542,น.98-99)
ในโคลงบทนำชี้ให้เห็นว่ากิจ 10 ประการดังกล่าว บัณฑิตได้พิจารณา แล้วจึงกล่าวสอนไว้ ทรงย้ำว่าผู้
ประพฤติตามกิจทั้ง ประการนี้จะไม่มีความ โทมนัสเลย
บัณฑิตวินิจแล้ว แถลงสาร สอนเอย
ทศนฤทุมนาการ ชื่อชี้
เหตุผู้ประพฤติปาน ดังกล่าว นั้นนอ
โทมนัสเพราะกิจนี้ ห่อนได้เคยมี
ส่วนโคลงบทสุดท้ายแนะนำว่ากิจ 10 ประการนี้ ทุกคนควรพิจารณา ถึงแม้จะประพฤติตนไม่ได้
ครบถ้วน แต่ทำได้บ้าง ก็ยังดีกว่าไม่ปฏิบัติเลย
ข้อความตามกล่าวแก ้ สิบประการ นี้นอ
ควรแก่ความพิจารณ์ ทั่วผู้
แม้ละไป่ขาดปาน โคลงกล่าว ก็ดี
ควรระงับดับสู้ สงบบ้างยังดี
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2558,น.149)
โคลงสุภาษิตทกล่าวถึงกิจ 10 ประการที่ผู้ประพฤติยังไม่เคยเสียใจ ซึ่งมีกิจอยู่หลายข้อที่เกี่ยวกับ การ
ี่
เชื่อคำพูดของผู้อื่น เช่น ถามฟังความก่อนตัดสิน ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย เป็นต้น การสอนเกี่ยวกับ การเชื่อในโคลง
วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน 12