Page 10 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 10
- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -
" ปัญญาสติล้ำ เลิศญาณ
อำนาจศักดิ์ศฤงคาร มั่งขั้ง
มารยาทเรียบเสี่ยมสาน เสงี่ยมเงื่อน งามนอ
สามสิ่งควรจักตั้ง แต่ช้องสรรเสริญ "
จากโคลงที่ยกมาเป็นตัวอย่างนี้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมไทยนิยมชมชอบผู้มีอำนาจ นับถือผู้มีเกียรติยศ
และมักต้องการให้ตนหรือบุคคลในครอบครัวเป็นผู้มีเกียรติ เป็นที่นับหน้าถือตาของคนอื่น ๆ อีกทั้งยังสะท้อน
ให้เห็นว่าสังคมไทยชื่นชมคนมีมารยาทดี เรียบร้อย
นอกจากจะสะท้อนค่านิยมในเรื่องของความดีที่สังคมต้องการแล้ว โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์
ยังสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่สังคมไม่ต้องการเอาไว้ด้วย เช่น
“ ใจบาปจิตหยาบร้าย ทารุณ
กำเริบเอิบเกินสกุล หยิ่งก้อ
อีกหนึ่งห่อนรู้คุณ ใครรู้ ฝังแฮ
สามสิ่งควรเกลียดพ้อ จิตแท้อย่าสมาน ”
โคลงบทนี้สะท้อนให้เห็นถึงสิ่งไม่ดีที่สังคมไม่ต้องการ นั่นคือ คนมีจิตใจที่โหดร้ายหยิ่งยโสไม่รู้จักความ
กตัญญู บุคคลใดที่ประพฤติปฏิบัติดังกล่าวนี้ จะเป็นที่เกลียดชังของสังคม
3.3.2 สะท้อนให้เห็นความเชื่อทางศาสนา แม้ว่าโคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์จะเป็นวรรณคดีที่แปล
มาจากภาษาต่างประเทศ แต่กวีก็นำมาปรับให้เข้ากับรสนิยมของคนไทย เช่น ความเชื่อทางด้านศาสนาแทนที่
จะเป็นแนวคิดทางศาสนาของพระยะโฮวา แต่กลับเป็นแนวคิดเรื่องไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ซึ่ง
ุ
เป็นแนวคิดของพระพทธศาสนา ความว่า
วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน 9