Page 5 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 5

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



                       โคลงโสฬสไตรยางค์ เดิมเป็นสุภาษิตภาษาอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ

               กรุณาโปรดเกล้าฯให้กวีในราชสำนักแปลและประพันธ์เป็นโคลงภาษาไทย ดังปรากฏในจดหมายเหตุพระราช

               กิจรายวันพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตอนหนึ่งว่า

                       วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2423 "...กรมหมื่นพิชิต (ต่อมาคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชา

               กร) ถวายโคลงโสฬสไตรยางค์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปแต่ง แก้ใหม่ให้ถูกกับความในภาษาอังกฤษ”


                       นอกจากทรงตรวจแก้แล้ว ยังทรงพระราชนิพนธ์โคลงนำบท แล้วพระราชทานให้คุณหญิงเปลี่ยน


               ภาสกรวงศ์ ปักเป็นตัวอักษร ด้วยไหมฝรั่งเบญจพรรณระบายสีใส่กรอบกระจก ประดับบน พระที่นั่งทรงธรรม

               เมื่องานพระเมรุสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระเมรุท้องสนามหลวง ณ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช

               1242 (พุทธศักราช 2423) ต่อมาได้รวบรวมลงพิมพ์ในหนังสือวชิรญาณ เล่ม 1 ฉบับที่ 1 จุลศักราช 1246

               (พุทธศักราช 2427) โดยใช้ ต้นฉบับที่พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (พระอิสริยยศขณะนั้น) ได้
               คัดลอกไว้จากต้นฉบับที่มีภาษาอังกฤษด้วย" ภายหลัง ได้นำมารวมพิมพในหนังสือประชุมโคลงสุภาษิตพระราช
                                                                          ์
               นิพนธ์ ในรัชกาลที่ 5 ในงานศตมวารพระศพสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ เมื่อวันที่ 11 เมษายน

               พ.ศ. 2466 (กรมวิชาการ,2542,น.83-84)


                       โคลงสุภาษิตโสฬสไตรยางค์ เป็นโคลงสี่สุภาพซึ่งมีบทนำ 1 บท เนื้อเรื่อง 16 บท และบทสรุป 1 บท

               ซึ่งบอกจำนวนสุภาษิตว่า มี 16 หมวด หมวดละ 3 ข้อ  รวมเป็น 48 ข้อ (กรมวิชาการ,2542,น.85) ดังนี้

                       1. สามสิ่งควรรัก-ความกล้า, ความสุภาพ, ความรักใคร่


                       2. สามสิ่งควรชม - อำนาจปัญญา, เกียรติยศ, มีมารยาทดี


                       3. สามสิ่งควรเกลียด - ความดุร้าย, ความหยิ่งกำเริบ, อกตัญญู


                                                                       3
                       4. สามสิ่งควรรังเกียจติเตียน - ชั่วเลวทราม, มารยา, ริษยา

                       5. สามสิ่งควรเคารพ - ศาสนา, ยุติธรรม, ความประพฤติ ประโยชน์ทั่วไปไม่เฉพาะตัวเอง


                       6. สามสิ่งควรยินดี - งาม, ตรงตรง, ไทยแก่ตน

                       7. สามสิ่งควรปรารถนา - ความสุขสบาย, มิตรสหายที่ดี, ใจสบายปรุโปร่ง


                       8. สามสิ่งควรอ้อนวอนขอ - ความเชื่อถือ, ความสงบ, ใจบริสุทธิ์


                       9. สามสิ่งควรนับถือ - ปัญญา, ฉลาด, มั่นคง



               3  สะกดตามต้นฉบับ

                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน   4
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10