Page 8 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 8
- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -
้
15. สามสิ่งควรครองไว ได้แก่ กิริยาที่เป็นในใจ มักง่าย วาจา กล่าวคือ อาการที่เกิดขึ้นในจิตใจควร
เก็บเอาไว้ไม่แสดงออกให้ใครรู้ อย่ามักง่ายด่วนได้โดยไม่ไตร่ตรอง และให้ระวังคำพูด
16. สามสิ่งควรจะเตรียมเผื่อ ได้แก่ อนิจจัง ชรา มรณะ กล่าวคือ ให้คิดอยู่เสมอว่า ทุกสิ่งในโลกนี้
ล้วนมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ชีวิตทุกชีวิตย่อมมีความแก่ชราและเดินไปสู่ความตายทั้งสิ้น ดังนั้นจึง
ควรเตรียมตัวไว้เพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น (ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลืองอรุณ,2562,น.202-
204)
3.คุณค่า
3.1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
3.1.1 การใช้คำ คำแต่ละคำที่กวีเลือกสรรมานั้น เป็นคำที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายไม่ต้องตีความซ้ำ
ทำให้เข้าใจความหมายที่กวีต้องการสื่อ ดังตัวอย่าง
" สิ่งใดในโลกล้วน เปลี่ยนแปลง
หนึ่งชราหย่อนแรง เร่งรัน
ความตายติดตามแสวง ทำชีพ ประลัยเฮย
สามส่วนควรคิดค้น คติรู้เตรียมคอย "
ความจากโคลงบทนี้ เมื่ออ่านแล้วก็ทราบได้ทันทีว่า กวีต้องการบอกให้เตรียมตัว รับมือกับการ
เปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น อันมีความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลก ความชรา และความตายเป็นพื้น ซึ่งเป็นสิ่งที่
ใคร ๆ ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้
3.1.2 การใช้สัมผัส กวีใช้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร จึงช่วยทำให้เกิดเสียงเสนาะและเพิ่มความ
ไพเราะให้บทประพันธ์ ดังตัวอย่าง
วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน 7