Page 21 - ปกเล่มโคลง.pdf
P. 21

- เอกสารประกอบการสัมมนา โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว -



               เรื่อง เช่น ปักษีปกรณัม (เรื่องของนก) ปีศาจปกรณัม (เรื่องของปีศาจ) นนทุกปกรณัม (เรื่องของวัวชื่อนนทุก)

               โคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ จึงหมายถึงโคลงสุภาษิตเรื่อง อิศป


                       อิศป หรือ อิสป (Aesop) เป็นชื่อนักเล่านิทานชาวกรีกผู้มีชีวิตอยู่ในราวศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล
               เล่ากันมาว่าอีสปเป็นทาสผู้มีร่างกายพิกลพิการแต่ชาญฉลาด มักยกนิทานขึ้นมาเล่าเพื่อเปรียบเปรยหรือ

               เตือนสติให้นายได้คิด หรือแก้ไขเหตุการณ์ที่เลวร้ายได้ ตัวอย่างเช่น ครั้งหนึ่งผู้นำคนหนึ่งถูกพิพากษาประหาร

               ชีวิต อีสป ยกนิทานเรื่อง หมาจิ้งจอกกับฝูงเหลือบ มาเป็นอุทาหรณ์ประกอบคำชี้แจงในสภาว่า การที่หมาย

                                                                                                        ี
               จิ้งจอกไม่ยอมไล่ฝูงเหลือบที่เกาะกินเลือดของตนอยู่ ก็เพราะเกรงว่าจะมีเหลือบฝูงใหม่ที่หิวกระหายมาเกาะอก
               เปรียบเหมือนชาวเมืองนี้ที่ถูกผู้นำเอารัดเอาเปรียบมานาน ผู้นำคนนี้ร่ำรวยพอแล้วควรปล่อยเอาไว้เช่นเดิม

               ดีกว่าจะให้ผู้นำคนใหม่ซึ่งหิวกระหายเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ของชาวเมือง (กรมวิชาการ,2542,น.144-

               145)

                       นิทานอีสปซึ่งมีการแต่งเพิ่มเติมจนมีจำนวนหลายร้อยเรื่องและมีการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ นั้นเป็นที่

                                                                             ั
               รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลกในวรรณคดีไทย นิทานอีสปปรากฏเป็นลายลักษณ์อกษรในสมัยรัชกาลที่ 5 ในต้นฉบับ
               สมุดไทยดำ ชื่ออิศปปกรณำ ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ หอสมุดแห่งชาติ


                                                                                      ่
                       ต่อมาในรัชกาลที่ 6 มีการแปลและเรียบเรียงนิทานอีสปเพอใช้เป็นแบบสอนอานสำหรับนักเรียน พระ
                                                                      ื่
               จรัสชวนะพันธ์ (สาตร์ สุทธเสถียร) กล่าวไว้ใน คำชี้แจงของผู้แต่งหนังสือแบบสอนอ่านเรื่อง นิทานอีสป เมื่อ
               วันที่ 22 ธันวาคม ร.ศ. 130 (พ.ศ.2454) ว่า พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  (พระอสริยยศ
                                                                                                    ิ
               ในขณะนั้น) เป็นผู้ทรงแนะนำให้พระจรัสชวนะพันธ์แต่งขึ้น โดยให้ใช้ภาษาง่าย ๆ และประโยคสั้น ๆ สำหรับ

               เด็กในชั้นมูลศึกษาที่จะใช้เป็นแบบสอนอ่านหลังจากเรียนแบบเรียนมูลศึกษาจบแล้ว (กรมวิชาการ,2542,น.

               148)


                       ในโคลงสุภาษิตอิศปปกรณำ  พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คติสอนใจที่

               ได้จากนิทานเรื่อง ไก่กับพลอย (เรื่องที่ 9 ซึ่งมีเนื้อเรื่องเหมือนในแบบสอนอ่านนิทานอีสป) มีบทสรุปท้ายเรื่อง
               ดังนี้





                                            นิสัยใจบต้อง          การดี


                                     พบสิ่งประเสริฐศรี            ติซ้ำ


                                     ไป่ชอบไป่ชวนมี               จิตปรารถ-นานา


                                     ดุจไก่พบแก้วล้ำ              หลีกแล้วเลยจร



                                                                        วิชา วรรณกรรมคัดสรรในหนังสือเรียน  20
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26