Page 42 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 42
ตัวอย่างข้างต้นตีความได้ว่า แพทย์ที่ดีควรยึดมั่นอยู่ในศีลและถือพระรัตนตรัยเป็นหลัก ไม่ตั้งอยู่ใน
ความประมาท ละความอวดดี ความริษยา ความโลภ ความเห็นแก่ตัวหรือรังเกียจคนไข้ที่ยากจน รักษาคนไข้
ด้วยใจจึงจะได้บุญกุศล
2.4 การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น กล่าวคือ แพทย์ที่มีอายุมาก ไม่ควรโอ้อวดหรือหลงตนเองว่ามี
ั
ความรู้มากกว่า มีประสบการณ์มากกว่าจนไม่ยอมรับฟงความคิดเห็นของแพทย์ที่มีอายุน้อย เพราะถือว่ายังไม่
มีประสบการณ์และความชำนาญ แต่ความจริงแล้วแพทย์ที่มีอายุน้อยอาจรู้มากกว่าหรือชำนาญมากกว่าแพทย์
ที่มีอายุมากก็ได้ ดังความจากบทประพันธ์ว่า
"บ้างถือว่าตนเฒ่า เป็นหมอเก่าชำนาญดี
รู้ยาไม่รู้ที รักษาได้ก็ชื่นบาน
แก่กายไม่แก่รู้ ประมาทผู้อุดมญาณ
แม้เด็กเป็นเด็กชาญ ไม่ควรหมิ่นประมาทใจ"
3 คุณค่าด้านสังคม
3.1 สะท้อนให้เห็นความเชื่อของสังคมไทย ฉันทศาสตร์น่าจะมีความหมายว่าตำรา (ศาสตร์) ที่แต่ง
เป็นสูตร (ฉันท์) ตามอย่างตำราการแพทย์ ในคัมภีร์อาถรรพเวท และด้วยเหตุที่ว่าคัมภีร์อาถรรพเวท มีเรื่องราว
เกี่ยวกับไสยศาสตร์จึงมักเรียกว่า "คัมภีร์ไสย์" ดังปรากฏในบทประพันธ์ว่า
"เรียนรู้ให้เจนจัด จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์
ตั้งต้นปฐมใน ฉันทศาสตร์ดังพรรณนา"
แต่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ มีการประสานความคิดความเชื่อต่าง ๆ ทางสังคมและพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน
ดังนั้นจึงมีคำบาลีปรากฏให้เห็นอยู่ตลอด จึงทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับ ศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับศาสนาด้วย เช่น
มิจฉา (ความผิด) พิริย (ความเพียร) วิจิกิจฉา (ความลังเล) อุทธัจ (ความฟุ้งซ่าน) วิหิงษา (ความเบียดเบียน)
อโนตัปปัง (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป) อธิกรณ์ (โทษ)
3.2 สะท้อนให้เห็นคุณค่าเรื่องแพทย์แผนไทย ในส่วนที่พรรณนาถึงทับ 8 ประการ เราจะปฏิเสธ
ไม่ได้ว่าการแพทย์แผนไทยเป็นวิธีรักษาอีกวิธีหนึ่ง เป็นแพทย์ทางเลือกที่ยังจำเป็นสำหรับชาวชนบทที่ห่างไกล
ความเจริญ เราจะคิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยไม่ได้ เพราะเวชกรรมแผนโบราณได้รับความเชื่อถือมาช้านาน ก่อนที่
เราจะรับเอาวิทยาการการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้ ซึ่งปัจจุบันการค้นคว้าวิจัยทางการแพทย์ก็กลับมาให้
หน้า 40