Page 38 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 38
บทวิเคราะห์
กุสุมา รักษมณี กล่าวว่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์เป็นบทนำของตำราชุดแพทย์ศาสตร์ มีเนื้อหาครอบคลุม
หลายเรื่อง แต่กล่าวถึงแต่ละเรื่องโดยสังเขปเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจภาพกว้าง ๆ ของอาการโรคและการรักษา
ึ
เนื่องจากผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคคือแพทย์ คัมภีร์ฉันทศาสตร์จึงกล่าวถึงคุณสมบัติที่แพทย์พงมี
เช่น มีความรู้ใน "คัมภีร์ใสย์" ซึ่งจะช่วยให้รักษาโรคได้ผลมากกว่ารู้เพียงเรื่องยาอย่างเดียว ดังปรากฏใน
คำประพันธ์ที่ว่า
เป็นแพทย์ไม่รู้ใน คัมภีร์ไสย์ท่านบรรจง
รู้แต่ยามาอ่าองค์ รักษาไข้ ไม่เช็ดขาม
พิจารณาจากเนื้อเรื่องส่วนใหญ่ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์จะเห็นว่าไม่ได้กล่าวถึงความเชื่อเรื่องเวทมนตร์
คาถาหรืออำนาจลึกลับตามแนวไสยศาสตร์ซึ่งเชื่อว่าผีสางเทวดาทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องใช้เวทมนตร์รักษา
"คัมภีร์ไสย์" ในที่นี้จึงไม่น่าจะหมายถึงคัมภีร์ไสยศาสตร์โดยตรง แต่เป็นตำราที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ
คัมภีร์อถรรพเวทของพราหมณ์ซึ่งเป็นต้นตำรับของไสยศาสตร์เท่านั้น นอกจากนั้นยังพยายามประสานความคิด
ความเชื่อต่าง ๆ ของสังคมพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วย ดังจะเห็นได้จากคำสอนต่อไปนี้
ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน
ทรงไว้เป็นนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา
อีกทั้งเมื่อจะเรียนวิชาแพทย์กับผู้ใด ควรหาครูที่รู้ทั้ง "พุทธ์" และ "ไสย์" ซึ่งนับเป็นการประสาน
ความเชื่อระหว่างศาสนาพุทธกับศาสนาพราหมณ์เข้าด้วยกัน ดังปรากฏในคำแนะนำว่า
ผู้ใดจะเรียนรู้ พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์
เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธ์ ไสย์จึ่งควรเรียน
ในตอนท้าย การประสานแนวความคิดทั้งสองทางนี้ยิ่งเด่นชัดมากขึ้น เมื่อเน้นความรู้เพื่อเข้าถึง
"รสธรรม" และเรียกคัมภีร์นี้ว่า "พระคัมภีร์พุทธฉันทศาสตร์" ซึ่งนับว่าเป็นการรับและปรับแนวคิดให้เข้ากับ
ค่านิยมและความเชื่อของคนในสังคมไทยได้อย่างน่าสนใจ
คัมภีร์ฉันทศาสตร์สอนให้แพทย์รู้จักเลี่ยงบาปดังนี้
เป็นแพทย์นี้ยากนัก จะรู้จักซึ่งกองกรรม
ตัดเสียซึ่งบาปธรรม สิบสี่ตัวจึงเที่ยงตรง
หน้า 36