Page 36 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 36

นอกจากนี้ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ยังได้กำหนดถึงข้อห้าม และข้อควรปฏิบัติควรประพฤติ ของแพทย์

               จรรยาแพทย์  และมีการกล่าวถึงบทไหว้ครู อันมีความเกี่ยวข้องโยงถึงเมื่อครั้งพุทธกาล เพราะได้กล่าวถึง
               ครูวิชาแพทย์ในบทไหว้ครู คือ “ครูโกมารภัจจ์” หรือ “ชีวกโกมารภัจจ์” ซึ่งในตำนานตามคติพุทธถือกันว่า

               เป็นแพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล หมอชีวกโกมารภัจจ์ ได้ศึกษาวิชาแพทย์

               จากฤาษีอาเตรยะ ที่สำนักตักกะศิลา และยังเป็นผู้ที่ได้บันทึกเส้นสิบไว้ ซึ่งเป็น แผนภาพที่สำคัญของวิชา
               การนวด ซึ่งเรียกสั้น ๆ ว่า “เส้นสิบ” องค์ความรู้นี้ได้เข้าสู่ประเทศไทยพร้อมกับการเข้ามาเผยแผ่

               พระพุทธศาสนาในประเทศไทย และกลายเป็นรากฐานของ การแพทย์แผนโบราณของไทย โดยเฉพาะด้าน
               การนวดเพื่อบำบัดโรคสืบมาจนทุกวันนี้ และยังมีอีกคัมภีร์หนึ่ง คือคัมภีร์วรโยคสาร เป็นตำราการแพทย์

               แผนไทย ที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ปรัชญาในการรักษาโรค และทฤษฎีการแพทย์แผนไทยนั้น  ส่วนหนึ่งได้รับ

               อิทธิพลมาจาก คัมภีร์พระพุทธศาสนา หรือพระไตรปิฎก และที่เรียกการรักษาว่า “ติกิจฉาวิธี” แปลเอา
               ความว่า “วิธีการรักษาโรคตามแนวพระพุทธศาสนา” (ติกิจฉา แปลว่า การเยียวยารักษา การบำบัดโรค หรือ

               เวชกรรม) ซึ่งปรากฏหลักฐานที่เกี่ยวกับการวินิจฉัย รักษาโรคโดยใช้ยาสมุนไพร และการรักษาโรคแบบต่าง ๆ
               ในพระวินัยปิฎกภาคที่ 2 เรื่อง “เภสัชชขันธกะ” และในขุททกนิกาย บทที่ว่าด้วย “พรรณนาวังติสาร” ซึ่งจะ

               กล่าวในตอนท้ายบทต่อไป

                       เนื้อหาสาระที่เป็นปรัชญาความรู้ในการวินิจฉัยโรค รวมทั้งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
               การ ค้นหาสาเหตุแห่งการเกิดโรค และการรักษาสุขภาพ การวินิจฉัยโรค ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการที่จะ

               เข้าใจทฤษฎีการแพทย์แผนไทย และบรรลุถึงความสามารถในการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องแท้จริง นั่นคือ

               คัมภีร์สมุฏฐาน ซึ่งเป็นคัมภีร์ย่อยในคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ และเป็นที่มาของ ทฤษฎีการแพทย์แผนไทย
               ที่ยึดตามแนวพระพุทธศาสนา ที่ใช้สืบทอดเล่าเรียนกันจวบจนปัจจุบันนี้

                       การแพทย์แผนไทยเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยมานานนับพันปี และด้วยวิถีที่เป็นชาวพุทธ
                                                                     ุ
               การดำเนินชีวิตตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ และตาย จึงเกี่ยวของกับพระพทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งไม่เพียงแต่มีแนวคิด หรือ
               หลักการทางพระพุทธศาสนาเท่านั้น การแพทย์แผนไทยยังเกี่ยวกับพิธีกรรม การดำรงชีวิตที่เป็นธรรมชาติ

               และมีแบบแผนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เป็นวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตความเจ็บป่วย จึงมิได้มองเพียงแค่
               เชื้อโรคที่เรียกว่า “ตัวกิมิชาติ” หากแต่มีสาเหตุมาจาก สมุฏฐาน แปลว่าที่ตั้งแรกเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ

               จะบังเกิดขึ้นก็เพราะสมุฏฐานเป็นที่ตั้ง เกิดความผิดปกติ หรือพิการไป หรือเกิดการเสียสมดุลไป
                       สมุฏฐานที่ตั้งแต่แรกเกิดของโรคภัยไข้เจ็บ แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

                          1.  ธาตุสมุฏฐาน

                          2.  อุตุสมุฏฐาน
                          3.  อายุสมุฏฐาน

                          4.  กาลสมุฏฐาน

                          5.  ประเทศสมุฏฐาน






                                                                                                    หน้า 34
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41