Page 40 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 40
คุณค่า
1 คุณค่าด้านวรรณศิลป์
1.1 การสรรคำ ผู้แต่งได้เลือกใช้คำที่สื่อความคิด ความเข้าใจ ดังนี้
1.1.1 การใช้ถ้อยคำที่เหมาะกับเนื้อเรื่อง ผู้แต่งเลือกใช้คำที่สามารถถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจได้
อย่างตรงไปตรงมา ดังตัวอย่าง
“บางหมอก็กล่าวคำ มุสาซ้ำกระหน่ำความ
ยกตนว่าตนงาม ประเสริฐยิ่งในการรักษา
บางหมอก็เกียจกัน ที่พวกอันแพทย์รักษา
บางกล่าวเปนมารยา เขาเจ็บน้อยว่ามากครัน
บางกล่าวอุบายให้ แก่คนไข้นั้นหลายพัน
หวังลาภจะเกิดพลัน ด้วยเชื่อถ้อยอาตมา”
1.1.2 การใช้สำนวนไทย มีการใช้สำนวนไทยประกอบการอธิบายทำให้เข้าใจเนื้อความ
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
"เรียนรู้คัมภีร์ไสย สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย
ควรกล่าวจึ่งขยาย อย่ายื่นแก้วแก่วานร"
จากตัวอย่างที่ยกมานี้ กล่าวถึงสำนวนไทย “ยื่นแก้วให้ว่านร” ซึ่งหมายถึง การให้ของมีค่าแก่คนที่ไม่รู้
ค่าของสิ่งนั้น เปรียบเทียบกับการเรียนรู้คัมภีร์ไสยที่ควรนำไปบอกต่อเมื่อเหมาะสมเท่านั้น
1.2 การใช้ความเปรียบ ผู้แต่งดำเนินเนื้อความอย่างต่อเนื่อง มีการใช้ความเปรียบอย่างคมคาย ทำให้
มองเห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น ดังตัวอย่าง
"อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเทียบเปรียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา
ดวงจิตคือกษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย
หน้า 38