Page 35 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 35
เป็นตำราแพทย์เล่มแรก ของไทยที่ครบถ้วนสมบูรณ์แบบ และเป็นทางการ หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ประชุมคณะแพทย์หลวง ดำเนินการชำระสอบเทียบตำรา
คัมภีร์แพทย์ที่ใช้กันมาแต่โบราณ ให้ดำเนินการถูกถ้วนตั้งแต่ พ.ศ. 2413 แล้วพระยาพิศณุประสาทเวช ได้
จัดพิมพ์หนังสือ ชื่อ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2450 เพื่อใช้เป็นทั้งตำราแพทย์ และคู่มือสำหรับ
สามัญชนใช้ในครัวเรือนซึ่งฉบับของพระยาพิศณุประสาทเวชนี้ มีเนื้อหาถูกถ้วนบริบูรณ์กว่าฉบับอื่น ๆ
เนื่องจากเป็นคัมภีร์ที่สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงให้ตรวจสอบกับตำรับคัมภีร์ แพทย์ฉบับหลวง
ิ
์
์
ลายมืออาลักษณ์แล้ว การจัดพมพครั้งนี้ ได้ใช้ตามฉบับพิมพของพระยาพิศณุประสาทเวช และเรียกชื่อหนังสือ
ว่า แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ : ภูมิปัญญาทางการแพทย์ และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ เนื่องจาก
แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นทั้งภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยและเป็นวรรณกรรมที่มีคุณค่าเชิงวรรณกรรม
สูงเรื่องหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่ผู้สนใจสามารถศึกษาในเชิงสหวิทยาการได้อย่างกว้างขวาง
ปัจจุบันหนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวงยังคงสำคัญอยู่ในฐานะที่เป็นตำราฉบับหนึ่งใน 5
ฉบับของบรรดาตำราแพทย์แผนไทย ที่องค์การอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข จัดให้เป็นตำราต้นแบบ
การแพทย์และสมุนไพรสำหรับใช้เทียบเคียงในการขอจดทะเบียนตำรับยาแผนไทยในประเทศไทย จึงเป็นที่
ยอมรับกันว่า วิชาการด้านแพทย์และสมุนไพรในหนังสือแพทย์ศาสตร์สง-เคราะห์ จัดเป็นองค์ความรู้ที่ได้
มาตราฐาน แพทย์และเภสัชกรแผนไทย มีสิทธิ์นำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ปรุงยาได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนใหม่
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หนังสือแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวงนี้ นอกจากจะอุดมสมบูรณ์ ด้วยองค์
ความรู้อันเป็นภูมิปัญญาตะวันออก ผสานด้วยภูมิปัญญาไทย ด้านเวชกรรมและเภสัชกรรมแล้ว ยังเป็นหนังสือ
ที่แฝงด้วยปรัชญาอันมีคุณค่า อุดมสมบูรณ์ด้วยเนื้อหาที่ครอบคลุม ทั้งจักรวาลวิทยา โลกทัศน์ และวิธีคิดของ
คนโบราณ รวมไปถึงระบบความเชื่อพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ คาถา และวิธีเยียวยาแผนโบราณ สมควรอย่าง
ยิ่งแล้ว ที่อนุชนรุ่นหลัง จักต้องช่วยกันอนุรักษ์ และสืบสานต่อไป ซึ่งมรดกทางวรรณกรรม ที่ทรงคุณค่าสูงสุด
ด้วยการช่วยกันเผยแพร่องค์ความรู้ ด้านการแพทย์แผนไทยเพื่อความผาสุก และมีสุขภาพดีทั้งกายและจิตใจ
ต่อไป
สืบเนื่องด้วยคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เล่มที่ 1 ที่ได้มีการกล่าวถึงบรมครูชีวกโกมารภัจจ์แพทย์ ใน
คุณความดี และความสามารถในการใช้ความรู้ทางแพทย์ ช่วยเหลือเยียวยาผู้เจ็บป่วยมากมาย ยังได้มี
การกล่าวถึงโรคอนเกิดแต่สตรี ครรภ์กำเนิด ครรภ์รักษา ครรภ์วิปลาส และตำรายากุมารต่าง ๆ อันเป็นเนื้อหา
ั
ที่อยู่ในส่วนคัมภีร์ที่ชื่อว่า คัมภีร์ปฐมจินดา นอกจากนี้ในคัมภีร์ ธาตุวิภังค์ ยังว่าด้วยธาตุพิการตามฤดูลักษณะ
ธาตุทั้งสี่ที่พิการ และคัมภีร์สรรพคุณ ว่าด้วย คุณแห่งเครื่องยา และสมุฏฐานแห่งโรค นามพิกัดกระสายยา
ส่วนคัมภีร์แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 นั้นมีคัมภีร์หลักที่สำคัญที่สุด คือ คัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยถือเป็นหัวใจ
สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรค นอกจากนั้นก็ยังมีคัมภีร์มหาโชตรัต ว่าด้วย กำเนิดโลหิตระดู สรรพยาต่าง ๆ
แก้กองธาตุ ยาแก้สาธารณะโลหิต คัมภีร์โรคนิทานว่าด้วยธาตุทั้ง 4 คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ ว่าด้วย ฤดู เรือน และ
ธาตุวิปลาส รวมถึงสมุฏฐานโรค
หน้า 33