Page 39 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 39
ข้อที่ควรเลี่ยงมี 14 ประการ ได้แก่ โลภะ (เห็นลาภอย่าโลภนัก) มารยา (อย่าหาญหักด้วยมารยา)
โทสะ (โทโสจงอดใจ สุขุมไว้อยู่ในตัว) โมหะ (โมโหอย่าหลงเล่ห์ ความใคร่ (ด้วยกาเมมิจฉาใน) พยาบาท
(พยาบาทแก่คนไข้ ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล) ความคลางแคลงใจ (วิจิกิจฉาเล่า จงถือเอาซึ่งครูตน อย่าเคลือบแคลง
อาการกล เห็นแม่นแล้วเร่งวางยา) ความประหม่า (อุทธัจจังอย่าอุทธัจ เห็นถนัดในโรคา ให้ตั้งตนดัง
พระยา ไกรสรราชเข้าราวี) ความง่วงเหงา (หนึ่งโสดอย่าซบเซา อย่าง่วงเหงานั้นมิดี) ความถือดี (ทิฏฐิมาโนเล่า
อย่าถือเอาซึ่งโรคเกิน) ความลังเลใจ (วิตักโกนั้นบทหนึ่ง ให้ตัดซึ่งวิตักกา) ความคิดเบียดเบียน (พยาบาทวิหิงสา
ึ
กามราคในสันดาน) ความไม่กลัวบาป (อโนตัปปังบทบังคับ บาปที่ลับอย่าพงทำกลัวบาปแล้วจงจำ ทั้งที่แจ้งจง
เว้นวาง) ความรังเกียจ (อย่าเกียจแก่คนไข้คนเข็ญใจขาดในทาง ลาภผลอันเบาบาง)
คัมภีร์ฉันทศาสตร์กล่าวถึงความสำคัญของแพทย์โดยเปรียบกับทหาร ในบทอุปมาเรื่อง "กายนคร"
เปรียบร่างกายของมนุษย์เหมือนเมือง เปรียบหัวใจเป็นพระราชาครองเมือง โรคคือข้าศึก แพทย์เป็นผู้รักษา
ร่างกายเหมือนทหารผู้รักษาบ้านเมือง น้ำดีซึ่งทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค มีความสำคัญเปรียบ
เหมือนฝ่ายวังหน้าซึ่งทำหน้าที่ต่างพระเนตรพระกรรณพระราชา อาหารที่กินเข้าไปคือเสบียงเลี้ยงกองทัพ
แพทย์ซึ่งเปรียบเป็นทหารต้องรักษา "หนทางทั้งสามแห่ง" ได้แก่ หัวใจ น้ำดี และอาหาร มิให้โรคร้ายเข้ามา
รุกรานได้ บทเปรียบเทียบดังกล่าวนี้ทำให้แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เป็นหนังสือตำราที่น่าอ่านมากขึ้น(สำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549,น.338 - 340)
หน้า 37