Page 34 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 34

แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในวงการสาธารณสุขไทย

                       ธีรศักดิ์ วัฒนถาวรวงศ์ กล่าวว่า กองการประกอบโรคศิลปะ  กระทรวงสาธารณสุข โดย

               รัฐมนตรีว่า การกระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้เป็นแบบอย่างการศึกษา เผยแพร่ ความรู้ แก่ผู้สนใจทั่วไป
               โดยระบุตำรายาที่รับรองไว้เมื่อ พ.ศ.2544 มี 4 รายการ

                          1.  ตำราเวชศึกษาของพระยาพิศณุประสาทเวช
                          2.  ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง เล่ม 1 และ 2

                          3.  ตำราคัมภีร์แพทย์แผนโบราณของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ เล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3

                          4.  ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 เล่ม 2 เล่ม 3
                       เมื่อปี พ.ศ.2494 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินวัดพระเชตุพน

               วิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในครั้งนั้นได้ทรงปรารภว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นแหล่งรวบรวมตำราแพทย์แผนไทย

               อยู่แล้ว ทำไมไม่จัดให้มีโรงเรียนสอนการแพทย์แผนไทย ในวิชาเวชกรรม ผดุงครรภ์ หัตถเวชและเภสัชกรรม
               ทำให้คณะกรรมการวัดพระเชตุพน ฯ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านการแพทย์แผนไทย ที่หลงเหลืออยู่ได้

               สนองพระราชปรารภ และจัดทำหลักสูตรโรงเรียนแพทย์แผนไทยโบราณขึ้นในนาม “โรงเรียนแพทย์
               แผนโบราณแห่งประเทศไทย” และเปิดสอนเป็นครั้งแรกที่วัดพระเชตุพน ฯ โดยแบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร คือ

               เวชกรรม เภสัชกรรมและหัตถเวช ต่อมาได้มีการขยายตัวไปทั่วประเทศไทยในนามของสมาคมแพทย์แผน

               โบราณและในปี พ.ศ.2525 ได้เปิดสอนวิชาการแพทย์แผนไทยในอายุรเวทวิทยาลัย (ชีวกโกมารภัจจ์)
               ที่วัดบวรนิเวศน์วรวิหาร ได้นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เข้าไปประยุกต์ใช้ ผู้มีบทบาทสำคัญได้แก่

               ศาสตราจารย์ น.พ. อวย เกตุสิงห์ และคณะ ได้จัดตั้งมูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริม การแพทย์แผนไทย (เดิม)
               ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงสาธารณสุขด้านนโยบายและงบประมาณ มีการผลิตบุคคลากรเรียก

               แพทย์แผนไทยประยุกต์ นับเป็นประวัติศาสตร์สำคัญด้วยการนำการแพทย์แผนไทย เข้าสู่ระบบ จนกระทั่งปี

               พ.ศ.2536 ได้มีการจัดตั้ง สถาบันการ แพทย์แผนไทยขึ้นมีพระราชบัญญัติคุ้มครองส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์
               แผนไทยในปี พ.ศ.2543 และลงราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 118 2ก. ลงวันที่ 10 มกราคม 2544 เกิดหน่วยงาน

               อย่างเป็นทางการในระดับสูงกว่ากองซึ่งสถาบันการแพทย์แผนไทย สังกัด สำนักงานปลัดกระทรวง นับเป็น

               ประวัติศาสตร์การต่อสู้ที่ยาวนานในการนำการแพทย์แผนไทย เข้าสู่การยอมรับอย่างเป็นทางการ
                       ผู้ที่มีความรู้เรื่องการแพทย์แผนไทย ในปัจจุบันที่สามารถรักษาโรคได้ แต่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ

               ยังมีมากมาย เรียกว่าหมอพื้นบ้านและหมอไทยที่ผ่านการอบรม และมีใบประกอบโรคศิลปะมีประมาณกว่า

               35,000 คน ก็นับว่ามีกำลังหมอไทย ยาไทย เป็นจำนวนมาก หากมีการบูรณาการอย่างเป็นระบบมีศูนย์กลาง
               คอยปรับปรุงและพฒนาองค์ความรู้และต่อยอดภูมิปัญญาแล้วการแพทย์แผนไทย จะเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
                               ั
               และอนามัยของประชาชนอย่างยิ่ง ทั้งร่างกายและจิตใจ อันเนื่องด้วย ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยของเรานั้น
               มีการบูรณาการมาจากการแพทย์พื้นบ้าน และอิทธิพลของพระพุทธศาสนา จึงสามารถเข้าถึงภาวะจิตใจ และ

               ร่างกายของผู้มาขอรับการบำบัดรักษาได้ นี่คือ เสน่ห์ที่มีคุณค่ายิ่ง ซึ่งเราควรภาคภูมิใจ ในภูมิปัญญาการแพทย์

               แผนไทยที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตน และองค์ความรู้ทางการแพทย์
               แผนไทย ทั้งหมดก็ถูกบันทึกไว้ในคัมภีร์แพทยศาสตร์สงเคราะห์ เป็นตำราแพทย์แผนไทยฉบับหลวง ซึ่งถือได้ว่า


                                                                                                    หน้า 32
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39