Page 31 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 31

แพทย์ศาสตร์สังเขป

                       คัมภีร์เวชศาสตร์นั้น  มีอเนกนัยวิจิตรนัก อยากที่จะรู้เห็นโดยแจ่มแจ้งได้ เว้นไว้แต่ท่านผู้มีปัญญาที่ได้

               เคยศึกษาฝึกฝนมาแต่สำนักท่านผู้ปรีชาใช้ปัญญาสอดส่องทดลองมาแล้ว จึงจะรู้ได้ตามสมควรแก่ปัญญาของ
               ตน เพราะฉะนั้นคัมภีร์เวชศาสตร์นี้จึงเป็นของควรบุคคลจะศึกษาไว้เป็นคุณสมบัติสำหรับตัว การที่จะศึกษาให้

               รอบรู้โดยถ่องแท้นั้น ก็ย่อมเป็นการยากนักยากหนา ด้วยตำราก็มีมากมายหลายประเภท  ทั้งแตกต่างโดยกาล
               ประเทศคตินิยมก็เป็นอเนกนัย ถึงดังนั้นก็ควรศึกษาให้เข้าใจไว้เป็นกระทู้ในเบื้องต้นก่อน ตามที่ได้รวบรัดตัด

               ตอนไว้โดยย่อ ๆ พอให้กุลบุตรได้ศึกษาเป็นวิชาความรู้ในเบื้องต้น แล้วจึงคิดค้นศึกษาต่อไปในภายหน้า

                       ในวิชาเบื้องต้นให้ชื่อว่า “เวชศึกษา” กล่าวด้วยกิจของหมอ และความรู้สำหรับรักษาพยาบาลไข้
               โดยสังเขป มีข้อความดังจะกล่าวต่อไปนี้



                                                           สิทธิการิยะ
                                                   ดำเนินความในเวชศึกษานี้ว่า

                              กุลบุตรผู้มีความปรารถนาหาคุณสมบัติสำหรับตัว คือที่เรียกว่าหมอนั้น จะต้องเป็นผู้มีความรู้
                       ความชำนาญในการแก้ไขสิ่งที่เกิดมีขึ้น ก็คำว่าหมอนั้นย่อมเรียกกันโดยมากแต่แตกต่างกันโดยคุณ

                       ความดีของบุคคล คือผู้ที่ชำนาญในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ก็เรียกว่า หมอยา ผู้ที่เข้าใจในวิธีนวด

                       ก็เรียกว่าหมอนวด ผู้ที่ชำนาญในการทรมานช้าง ก็เรียกว่า หมอช้างหรือควาญช้าง  สุดแต่ผู้ชำนาญใน
                       วิธีใด ก็คงเรียกกันว่าหมอตามวิธีนั้น ๆ


                              ในที่นี้จะกล่าวด้วยหมอยา  ซึ่งชำนาญในการแก้ไขโรคภัยไข้เจ็บด้วยวิธีใช้ยาอย่างเดียว จะใช้

                       คำว่าหมอเท่านั้น หมอที่จะกล่าวต่อไปนี้มาจากคำว่า เวช คนมีความรู้แผลงมาเป็นแพทย์แปลออกเป็น

                       คำไทยว่าหมอ
                              หมอที่จะเป็นผู้รู้ผู้ชำนาญในการรักษาโรคได้นั้น จะต้องรู้กิจ 4 ประการ ในเบื้องต้นเสียก่อน

                       กิจ 4 ประการนั้นแบ่งออกเป็นหมวดดังนี้ คือ

                                     หมวดที่ 1     รู้ที่ตั้ง ที่แรกเกิดของโรค
                                     หมวดที่ 2     รู้จักชื่อโรค

                                     หมวดที่ 3     รู้จักยาสำหรับแก้โรค

                                     หมวดที่ 4     รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคชนิดใด
                       กิจ 4 ประการนี้แหละเป็นความรู้ในเบื้องต้นของหมอ (พระยาพิศณุประสาทเวช,2543,น.2)










                                                                                                    หน้า 29
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36