Page 27 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 27
เนื้อหา
ตอนที่ 1
เริ่มด้วยบทไหว้ครู (ดังได้กล่าวถึงแล้วข้างต้น) กล่าวถึง คุณสมบัติของแพทย์และสิ่งที่แพทย์ควรรู้
ความสำคัญของแพทย์ปรากฏในบทเปรียบเทียบ “กายนคร”ซึ่งเปรียบร่างกายมนุษย์เป็นเมือง และแพทย์เป็น
ทหาร ป้องกันบ้านเมืองจากข้าศึกคือโรคภัย ดังนี้
…อนึ่งจะกล่าวสอน กายนครมีมากหลาย
ประเปรียบเทียบในกาย ทุกหญิงชายในโลกา
ดวงจิตคือกระษัตริย์ ผ่านสมบัติอันโอฬาร์
ข้าศึกคือโรคา เกิดเข่นฆ่าในกายเรา
เปรียบแพทย์คือทหาร อันชำนาญรู้ลำเนา
ข้าศึกมาอย่าใจเบา ห้อมล้อมรอบทุกทิศา
ให้ดำรงกระษัตริย์ไว้ คือดวงใจให้เร่งยา
อนึ่งห้ามอย่าโกรธา ข้าศึกมาจะอันตราย
ปิต์ตํ คือวังหน้า เร่งรักษาเขม้นหมาย
อาหารอยู่ในกาย คือเสบียงเลี้ยงโยธา
หนทางทั้งสามแห่ง เร่งจัดแจงอยู่รักษา
ห้ามอย่าให้ข้าศึกมา ปิดทางได้จะเสียที…
ในท้ายตอนที่ 1 มีสังเขปอาการของ ไข้ทับ 8 ประเภท
ตอนที่ 2
มีข้อความกำกับว่า “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ขึ้นต้นด้วยบทไหว้พระรัตนตรัย บิดา มารดา และครู
อาจารย์ แล้วกล่าวถึงวิธีสังเกตอาการไข้และยารักษา
ตอนที่ 3
กล่าวถึงกำเนิดโรคภัย ลักษณะของผู้หญิงที่มีน้ำนมดีหรือน้ำนมชั่ว ลักษณะไข้สามขั้นคือ
เอกโทษ ทุวรรณโทษ และตรีโทษ
ตอนที่ 4
กล่าวถึงวิธีสังเกตตำแหน่งชีพจรซึ่งเปลี่ยนไปตามเวลาขึ้นแรม เช่น เดือนขึ้นค่ำฝ่าบาทา เจ็ดค่ำประจำ
แข้ง สิบห้าค่ำประจำใจ พร้อมทั้งข้อควรระวังต่าง ๆ
หน้า 25