Page 22 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 22

ประวัติผู้แต่ง

                       คัมภีร์ฉันทศาสตร์ แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์นี้ เกิดจากการชำระคัมภีร์แพทย์ของคณะกรรมการแพทย์
               หลวงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งขึ้น แล้วต่อมาพระยาพิศณุประสาทเวช

               (คง ถาวรเวช) ได้นำมาพิมพ์เผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ได้กล่าวแล้ว (ณัฐวุฒิ คล้ายสุวรรณ วันเพ็ญ เหลือง

               อรุณ,2562,น.192)
                       ก่องแก้ว วีระประจักษ์ กล่าวว่า พระยาพิศณุประสาทเวช (คง ถาวรเวช) เดิมเป็นหมอประจำ

               โรงพยายาบาลวังหลัง (โรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบัน) นับแต่แรกก่อตั้ง ต่อมา ท่านได้ย้ายมาประจำอยู่ที่
               โรงพยาบาลบูรพา และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนประสารเวชสิทธิ์” ทำหน้าที่เป็นหมอหลวง หมอประจำ

               โรงพยาบาล และยังเป็น หมอเชลยศักดิ์ รับรักษาไข้ตามที่มีคนหาไปรักษา ท่านได้ใช้ความรู้ในวิชาแพทย์

               สมัยใหม่ที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาลผสานกับความรู้ตามตำราแพทย์แผนไทยที่ได้สืบทอดกันมาแต่เดิม ทำให้
               “หมอคง” เป็นหมอที่เก่งมีชื่อเสียงมากในขณะนั้น ต่อมาก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นลำดับจนเป็น

               พระยาพิศณุประสาทเวช ความรู้ความสามารถในทางแพทย์ของท่านเป็นที่ประจักษ์จนได้รับความไว้วาง
               พระราชหฤทัยจากสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร อันเป็นโรงเรียนแพทย์

               แผนใหม่ของประเทศไทย ท่านได้รวบรวมตรวจสอบคัมภีร์แพทย์ฉบับพื้นบ้านที่ท่านได้ไปพบเห็นมาขณะเมื่อ

                                                                         ์
                                                                      ิ
               ออกไปรักษาโรคระบาดตามจังหวัดต่าง ๆ แล้วนำมาเรียบเรียงจัดพมพขึ้นใหม่ให้เป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน
               โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ช่วยตรวจสอบชำระกับพระคัมภีร์ฉบับ
               หลวง ในหอพระสมุดวชิรญาณ รวมพิมพ์เป็นหนังสือ “แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง”

                       พิมพ์เผยแพร่เมื่อพทธศักราช 2450 หนังสือเล่มนี้จัดว่าเป็นตำราแพทย์แผนไทยที่ถูกต้องสมบูรณ์ที่สุด
                                      ุ
               ฉบับหนึ่ง เป็นคู่มือสำคัญของทั้งหมอหลวงและหมอชาวบ้านที่ใช้อย่างต่อเนื่องตราบเท่าทุกวันนี้ นอกจากนี้

               ท่านยังได้เรียบเรียงและจัดพิมพ์ตำราเรียนวิชาแพทย์ เรื่อง “เวชศึกษา” พิมพ์เผยแพร่ในพุทธศักราช 2451
               เพื่อใช้สอนนักเรียนแพทย์ในโรงเรียนเวชสโมสรด้วย

                       พระยาพิศณุประสาทเวช (คง  ถาวรเวช) เกิดเมื่อพุทธศักราช 2396 ประวัติครั้งเยาว์วัยของ

               พระยาพิศณุประสาทเวชไม่ปรากฏรายละเอียด จนถึงพุทธศักราช 2429 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
               เจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริจัดตั้งโรงพยาบาลขึ้นครั้งแรกที่บริเวณพระราชวังหลัง ซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่า

               โรงพยาบาลวังหลัง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าไว้ในนิทานโบราณคดีเรื่อง
               “ตั้งโรงพยาบาล” ว่า “หมอคง” เคยเป็นศิษย์ของพระยาประเสริฐศาสตร์ธำรง (หนู วรกิจพิศาล) ซึ่งเป็นหมอที่

               มีชื่อเสียงได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้เป็นแพทย์ใหญ่ ประจำโรงพยาบาลศิริราชพยาบาล (โรงพยาบาลวังหลัง)

               พระยาประเสริฐศาสตร์ธำรง ได้คัดเลือก “หมอคง” ให้เป็นหมอรองประจำโรงพยาบาลตั้งแต่แรกก่อตั้ง
                       ต่อมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน  พุทธศักราช 2431 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จ

               พระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาล โปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามโรงพยาบาลว่า ศิริราช

               พยาบาล กับยั้งได้ตั้งกรมพยาบาลขึ้นในคราวนั้นด้วย ต่อมากิจการโรงพยาบาลได้รับความนิยมมากขึ้น
               กรมพยาบาลจึงจัดตั้งโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอีก คือ ที่ปากคลองสาน ตั้งเป็น โรงพยาบาลคนเสียจริต ที่ริมคลอง

               รอบกรุงตรงหน้าวังบูรพาภิรมณ์ ตั้งเป็นโรงพยาบาลสามัญ เรียกว่า โรงพยาบาลบูรพา  ที่ปากถนนสีลมต่อกับ


                                                                                                    หน้า 20
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27