Page 17 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 17

ื่
                       มรดกทางภูมิปัญญาอันล้ำค่าของไทยเราส่วนนี้ สมควรที่จะได้มีการอนุรักษ์และพัฒนาอย่างจริงจังเพอ
               ความต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2547,น.1 – 14)


               ความนำ

                       กุสุมา รักษมณี กล่าวว่า ศัพท์ภาษาไทยว่า “แพทย์” มาจากศัพท์สันสกฤต “ไวทย” แปลว่าผู้รู้
               พระเวท หมายถึงผู้รู้วิชาการต่าง ๆ ที่ประมวลอยู่ในคัมภีร์พระเวท (คัมภีร์พระเวทย์ฉบับหนึ่งคือ อถรรพเวท

               เป็นต้นกำเนิดของตำราการแพทย์ และการรักษาโรคด้วยสมุนไพร) และผู้รู้วิชาการรักษาโรคเป็นที่นับถือ
               ยกย่องและมีบทบาทมากในสังคมต่อมาคำว่า “ไวทย” จึงมีความหมายเจาะจงหมายถึงผู้รู้วิชาการรักษาโรค

                       ตำราแพทย์ของไทยที่มีมาแต่โบราณ มีร่องรอยของอทธิพลความเชื่อ และหลักปฏิบัติต่าง ๆ ที่ปรากฏ
                                                                  ิ
               ในตำราแพทย์ของอินเดีย ดังจะเห็นได้จาก คัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นตัวอย่าง
                       ในความหมายกว้าง “ฉันทศาสตร์”คงจะหมายถึงตำราแพทย์โดยรวมดังปรากฏใน “พระคัมภีร์ปฐม

               จินดาร์” ตอนต้นว่า


                              ….จักแสดงบัดนี้ (คน์ถ) ซึ่งพระคัมภีร์อันวิเศษ (ปฐมจินดาร์) ชื่อปฐมจินดาร์ (ฉันทโสมุข)

                       อันเปนลักษณ์เปนประธานแห่งคัมภีร์ฉันทศาสตร์ทั้งปวง…..


                       ผู้เรียบเรียงให้ความสำคัญแก่ “พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์” ว่ามีเนื้อหาเป็นหลักของตำราแพทย์ทั้งหมด

               “ฉันทศาสตร์” จึงมีความหมายครอบคลุมตำราต่าง ๆ เช่น “ปฐมจินดาร์ โรคนิทาน อภัยสันตา ตักกศิลา”
               เป็นต้น

                       ส่วนในความหมายแคบ “ฉันทศาสตร์” เป็นชื่อตำราฉบับหนึ่ง เช่นเดียวกับตำราอื่นๆที่กล่าวมาแล้ว
               พิจารณาจากบทไหว้ครู และเนื้อหาที่สอนจรรยาบรรณแพทย์และข้อควรปฏิบัติสำหรับแพทย์ น่าจะนับได้ว่า

               เป็นตำราฉบับแรกในหนังสือชุดแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ในความนำนี้จะกล่าวถึง “ฉันทศาสตร์”

               ตามความหมายแคบนี้
                       ในวรรณกรรมอินเดียโบราณ คำประพันธ์สั้น ๆ ที่ผูกขึ้นมาเพื่อใช้ท่องจำข้อความรู้ต่าง ๆ ในคัมภีร์

               พระเวท เรียกว่า “สูตร” เฉพาะ สูตร ในคัมภีร์อถรรพเวท ( ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของตำราการแพทย์อินเดีย)
               เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า “ฉันท์” ชื่อ “ฉันทศาสตร์” จึงน่าจะมีความหมายว่าตำรา (ศาสตร์) ที่แต่งเป็นสูตร

               (ฉันท์)  ตามอย่างตำราการแพทย์ในคัมภีร์อถรรพเวทและด้วยเหตุที่คัมภีร์อถรรพเวท มีเรื่องราวส่วนใหญ่

               เกี่ยวกับไสยศาสตร์ด้วย จึงมักเรียกกันว่า “คัมภีร์ไสย์” ดังปรากฏใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ที่กล่าวถึงอยู่หลาย
               ครั้งเช่น









                                                                                                    หน้า 15
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22