Page 14 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 14

เฉพาะในส่วนที่จัดว่าเป็น “บทสอนแพทย์” ผู้แต่ง คือ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) หรือ “หมอกล่อม”

               ได้ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องของแพทย์โดยทั่วไปที่มักจะมีความประมาท ความอวดดี ความริษยา ความโลภ
               ความเห็นแก่ตัว ความหลงตนเอง ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่บรรดาแพทย์เล็งเห็นข้อบกพร่องต่างๆ ย่อมมี

               ส่วนช่วยรักษาคนไข้ให้หายได้ในเร็ววัน ไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย และที่สำคัญก็คือคนจนก็ได้รับความสนใจไยดี

               จากแพทย์  ในส่วนแพทย์ด้วยกันเองนั้นเล่าผู้แต่งก็เตือนสติมิให้ “แพทย์ผู้สูงอายุ” ผู้มีอาวุโสกว่า หลงตนเอง
               จนลืมไปว่า “แพทย์หนุ่ม” ผู้ที่มีความสามารถก็มีอยู่ควรรับฟังแพทย์หนุ่ม ๆ บ้าง

                       ในส่วนที่กล่าวถึง “จรรยาแพทย์” โดยตรงว่าควรมีอย่างไรบ้างนั้น ส่วนใหญ่คำสอนในพระพุทธศาสนา
               มาเป็นแนวทางชี้นำ “จรรยาแพทย์” เช่น

                              ศีลแปดแลศีลห้า               เร่งรักษาสมาทาน

                       ทรงไว้เปนนิจกาล                     ทั้งไตรรัตน์สรณา
                       เห็นลาภอย่าโลภนัก                   อย่าหาญหักด้วยมารยา

                       ไข้น้อยกว่าไข้หนา                   อุบายกล่าวให้พึงกลัว
                       โทโสจงอดใจ                          สุขุมไว้อยู่ในตัว

                       คนไข้ยิ่งคร้ามกลัว                  มิควรขู่ให้อดใจ

                       โมโหอย่าหลงเลห์                     ด้วยกาเมมิจฉาใน
                       พยาบาทแก่คนไข้                      ทั้งผู้อื่นอันกล่าวกล



                       ส่วนการเยียวยารักษาก็มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะ “หมอกล่อม” ได้แสดงให้เห็นทัศนะของ
               แพทย์ชาวพุทธว่ามิได้เชื่อเรื่อง “กรรม” อย่างงมงายหากได้พยายามชี้ให้เห็นว่าถ้ารักษาไม่หายอาจจะเป็น

               ความบกพร่องผิดพลาดของแพทย์เองและแพทย์ที่ดีไม่ควรปัดความผิดไปให้ “กรรม” เช่น


                       ….บางทีรู้มิทัน             ด้วยโรคนั้นใช่วิไสย

                       ตน บ รู้ทิฏฐิใจ             ถือว่ารู้ขืนกระทำ
                       จบเรื่องที่ตนรู้            โรคนั้นสู้ว่าแรงกรรม

                       ไม่สิ้นสงไสยทำ              สุดมือม้วยน่าเสียดาย
                       ………………………………                        ………………………………..

                       รู้น้อยอย่าบังอาจ           หมิ่นประมาทในโรคา

                       แรงโรคว่าแรงยา              มิควรถือคือแรงกรรม


                       เฉพาะในตอน “จรรยาแพทย์” นี่มีบางบทที่ผู้แต่งใช้เป็นความเปรียบทำให้เนื้อหาค่อนข้างหนักเป็น

               ปรัชญาหรือวิชาการมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ด้วยเช่น





                                                                                                    หน้า 12
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19