Page 19 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 19

….ศีลแปดแลศีลห้า เร่งรักษาสมาทาน ทรงไว้เปนนิจกาล ทั้งไตรรัตน์สรณา…


               เช่น

                       ….ให้ตัดซึ่งวิตักกา พยาบาทวิหิงสา ..วิจาโรให้พินิจ จะทำผิดฤาชอบกาล…

                       หิริกังละอายบาป อันยุ่งหยาบสิ้นทั้งหลาย…


               นอกนั้นยังแนะนำว่า ผู้ใดจะเรียนวิชาแพทย์ควรจะ


                       …พิเคราะห์ดูผู้อาจารย์ เที่ยงแท้ว่าพิสดาร ทั้งพุทธ์ไสย์จึ่งควรเรียน…


               บทไหว้ครู ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงการประสานความเชื่อระหว่าง “พุทธ” กับ “ไสย์”

               เข้าด้วยกัน ผู้ประพันธ์เริ่มต้นด้วยการไหว้ “พระไตรรัตนาถา” แล้วจึงไหว้


                       ..พระฤาษีผู้ทรงญาณ แปดองค์เธอมีฌาน โดยรอบรู้ในโรคา…


                       ตามคติอินเดีย ถือกันว่าฤาษีทั้งหลายเป็นผู้รับวิชาการแพทย์มาจากพระพรหมเพื่อนำมาเผยแพร่แก่

               ชาวโลก ฤาษีผู้เป็นปฐมาจารย์ทางการแพทย์ คือ อาเตรยะ มีสิทธิ์ที่มีชื่อเสียงคือ ฤาษีหาริต อัคนิเวศ กาศยป

               และเภทต่อมา ในภายหลัง


                       ปรากฏชื่อฤาษีผู้เป็นอาจารย์ทางการแพทย์อีก ๓ องค์ คือ จรกะ สุศรุต และ วาคภัฏ ฤาษี 8 องค์ ใน
               “บทไหว้ครู” ใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ น่าจะหมายถึง ฤาษีที่ปรากฏชื่อตามคติอินเดียดังกล่าวนี้



                       ต่อไปเป็นบทไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ดังนี้


                              …ไหว้คุณพระอิศวเรศ (พระอิศวรหรือพระศิวะ) ทั้งพรหมเมศทุกชั้นฟ้า (พระพรหม) ซึ่งเป็นผู้
               สาปสวรรค์ซึ่งหว้านยา…      ตรงตามคติอินเดีย



                       ครูวิชาแพทย์อีกผู้หนึ่งที่ผู้ประพันธ์ตำรายกไว้ใน “บทไหว้ครู” คือ “ครูกุมารภัจ” หรือ
               “ชีวกโกมารภัจ” ซึ่งในตำนานตามคติพุทธถือกันว่าเป็นแพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้งมคธในสมัย

               พุทธกาล หมอชีวกโมารภัจ ได้ศึกษาวิชาแพทย์จากฤาษีอาเตรยะ ที่สำนักตักกะศิลา







                                                                                                    หน้า 17
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24