Page 23 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 23

ถนนเจริญกรุง เป็นที่รักษาพยาบาลอย่างฝรั่ง  ที่ปากถนนหลวงตรงกับวัดเทพศิรินทราวาส เรียกว่า

               โรงพยาบาลเทพศิรินทร์
                       ประมาณพุทธศักราช 2436 “หมอคง” ได้ย้ายมาประจำอยู่ที่โรงพยาบาลบูรพา และได้เลื่อน

               บรรดาศักดิ์เป็น “ขุนประสารเวชสิทธิ์” ทำหน้าที่เป็นหมอหลวง หมอประจำโรงพยาบาล และยังเป็นหมอเชลย

               ศักดิ์ รับรักษาไข้ทั่วไปตามที่มีคนหาไปรักษา โดยใช้ความรู้ในวิชาแพทย์สมัยใหม่ที่ใช้อยู่ในโรงพยาบาล ผสาน
               กับความรู้ตามตำรับไทยโบราณที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแต่เดิม การเปลี่ยนแปลงแบบแผนการใช้ยารักษาไข้

               ทำให้เป็นผลดีต่อการรักษาพยาบาล ส่งเสริมให้ “หมอคง” เป็นหมอที่เก่งที่มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น และต่อมา
               ก็ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์โดยลำดับจนเป็น “พระยาพิศณุประสาทเวช”

                       ความรู้ความสามารถในทางแพทย์ของ พระยาพิศณุประสาทเวช เป็นที่ประจักษ์ จนได้รับความไว้วาง

               พระราชหฤทัยจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพุทธศักราช 2449 โปรดเกล้า ฯ ให้ไปตรวจ
               จัดการระงับโรคระบาด ซึ่งเกิดขึ้นตามหัวเมือง โดยครั้งนั้นเกิดโรคที่เข้าใจกันว่าเป็นไข้ตักศิลา เรียกตามภาษา

               ปัจจุบันว่า กาฬโรค หรือ เปล๊ก ซึ่งระบาดอยู่ในพื้นที่แถบจังหวัดลพบุรี นครราชสีมา เป็นต้น
                       พระยาพิศณุประสาทเวช นอกจากจะเป็นหมอที่มีชื่อเสียง เป็นผู้จัดการโรงเรียนเวชสโมสร และยังเป็น

               แพทย์ที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลยิ่งอีกด้วย ที่กล่าวเช่นนี้นับว่าไม่เกินเลย  เพราะหลังจากการระงับโรคระบาดใน

               คราวนั้น ทำให้ได้แนวคิดเกี่ยวกับตำราแพทย์บรรดาที่มีอยู่ในพื้นบ้านแต่ละท้องถิ่น ซึ่งคัดลอกกันต่อ ๆ มา
               พบว่า อยู่ในสภาพที่ลบเลือนผิดเพี้ยนไปมาก บางฉบับอ่านแล้วไม่ได้ความก็มี พระยาพิศณุประสาทเวชจึงเกิด

               ความคิดรวบรวมพระคัมภีร์แพทย์ขึ้นไว้ให้เป็นคัมภีร์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน โดยในเบื้องต้นได้รวบรวมแล้ว

               ตรวจสอบชำระกับพระคัมภีร์แพทย์ที่มีอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากสมเด็จฯกรม
               พระยาดำรงราชานุภาพ นายกสภาหอพระสมุดวชิรญาณในขณะนั้น แล้วรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือ เรื่อง “เวช

               ศึกษา” พิมพ์เผยแพร่ในปีพุทธศักราช 2451 เพื่อใช้สอนนักเรียนแพทย์ในโรงเรียนเวชสโมสร ซึ่งท่านเป็น
               ผู้จัดการอยู่ในขณะนั้น

                       ความเป็นแพทย์ที่ยิ่งใหญ่และรอบรู้จัดเจนอย่างยากที่จะมีผู้มาเสมอเหมือน ปรากฏชัดในพระราช

               นิพนธ์เรื่อง “หมอประจำวัง” ของหม่อมเจ้าหญิง พูนพิศมัย ดิศกุล ความในพระราชนิพนธ์ นั้นสะท้อนให้เห็น
               อัจฉริยภาพและวิริยภาพของพระยาพิศณุประสาทเวชในทางการแพทย์อย่างชัดเจน ท่านได้ทุมเทชีวิต

               เพื่อการแพทย์เพียงอย่างเดียว แม้เมื่อมีเวลาว่างก็ยังท่องสูตรตำรายาสลับไปกับการสวดมนต์อย่างไม่รู้จัก
               เบื่อหน่าย



                       ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาพิศณุประสาทเวช ได้มีโอกาสรับราชการ
               เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์ และได้รับพระราชทานนามสกุลให้เป็นต้นสกุล “ถาวรเวช” เมื่อวันที่ 9

               กันยายน พุทธศักราช 2456









                                                                                                    หน้า 21
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28