Page 25 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 25
สังเขปเรื่องฉันทศาสตร์
เนื้อเรื่องในฉันทศาสตร์อาจแบ่งเป็นตอน ๆ ได้ดังนี้
ตอนที่ 1 เริ่มด้วยบทไหว้ครูซึ่งเป็นการไหว้พระรัตนตรัย ไหว้เทพเจ้าของพราหมณ์ ไหว้หมอชีวกโก
มารภัจ (แพทย์หลวงของพระเจ้าพิมพิสารแห่งแคว้นมคธ วงการแพทย์แผนโบราณถือว่าเป็นครูคนสำคัญ) และ
ไหว้ครูแพทย์โดยทั่วไป ต่อจากนั้น จึงกล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่พึงมี ในท้ายตอนที่ 1 มี
สังเขปอาการของไข้ทับ (โรคที่แทรกซ้อนโรคอื่นที่เป็นอยู่ก่อน) 8 ประเภท
ตอนที่ 2 มีข้อความกำกับว่า "ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา" ขึ้นต้นด้วยบทไหว้พระรัตนตรัย บิดามารดา
และครู แล้วกล่าวถึงวิธีสังเกตอาการใช้และยารักษา
ตอนที่ 3 กล่าวถึงกำเนิดโรคภัย ลักษณะของหญิงที่มีน้ำนมดีหรือน้ำนมชั่ว ลักษณะไข้ 3 ขั้น คือ เอก
โทษ ทุวรรณโทษ และตรีโทษ
ตอนที่ 4 กล่าวถึงวิธีสังเกตตำแหน่งชีพจรซึ่งเปลี่ยนไปตามเวลาขึ้นแรมและข้อควรระวังต่าง ๆ
ตอนที่ 5 กล่าวถึงธาตุทั้ง 5 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรค
ตอนที่ 6 กล่าวถึงอาการไข้ป่วง (โรคที่เกิดเพราะธาตุในร่างกายผิดปกติทำให้เกิดอาการไข้ชนิดต่าง ๆ)
และยารักษา
ตอนที่ 7 กล่าวถึงกำหนดเวลาโมงยามที่สัมพันธ์กับสมุฏฐานโรค
ตอนที่ 8 กล่าวถึงอาการโรคท้องร่วงลักษณะต่าง ๆ
ตอนที่ 9 มีชื่อว่ามรณญาณสูตร บอกวิธีสังเกตนิมิตของผู้ใกล้ตาย
ตอนที่ 10 กล่าวถึงอาการโรคลมทราง (โรคลมที่เกดกับเด็ก) และกล่าวถึงธาตุในร่างกาย (ซ้ำกับตอน
ิ
ที่ 8 แต่มีเพียงธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ)
ตอนที่ 11 เป็นคำเตือนแพทย์ให้ศึกษาคัมภีร์ฉันทศาสตร์ และกล่าวถึงลักษณะของแพทย์ที่ดี ลงท้าย
ด้วยคำขอพรของผู้ประพันธ์
ส่วนที่เลือกมาให้เรียนเป็นบทที่กล่าวถึงความสำคัญของแพทย์และคุณสมบัติที่พึงมีซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง
ของตอนที่ 1
(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,2549,น.337 - 338)
หน้า 23