Page 20 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 20
ชื่อฤาษีผู้เป็นอาจารย์ของหมอชีวกโกมารภัจปรากฏใน “คัมภีร์ปฐมจินดาร์” ตอนหนึ่งว่า
…อันว่าข้า (ชีวกโกมาโร) ชื่อชีวกโกมารภัจ (สุตํ) ได้สดับฟัง (มหาเถรโต) จากสำนักพระมหา
เถรผู้ชื่อว่าตำแย…
มีข้อน่าสังเกตว่า ชื่อ “ตำแย” ซึ่งไม่ปรากฏในคำบาลีที่กำกับไว้ในวงเล็บอาจเป็นชื่อที่จดจำต่อ ๆ กัน
มา จนเพี้ยนไปจากชื่อเดิม หากพิจารณาเสียงที่ใกล้เคียงกัน ก็น่าสันนิฐานได้ว่า เป็นชื่อที่กลายมาจาก
“อาเตรยะ” อาจารย์ของหมอชีวกโกมารภัจ อนึ่งในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายที่มาของคำ
“ตำแย” ในคำหมอตำแยผู้ทำคลอดว่า ได้ชื่อมาจาก “มหาเถรตำแย” ซึ่งน่าจะได้จากข้อความตอนหนึ่งใน
“พระคัมภีร์ปฐมจินดาร์” ที่กล่าวถึงการทำคลอดว่า
…ถ้าแพทย์ผู้ใดก็ดี หมอตำแยแม่หมดผู้ใดก็ดี แลจะถือครรภ์ให้กุมารคลอดไปเบื้องน่านั้น ให้
บูชาบวงสรวงพระมหาเถรตำแยก่อน จึงประสิทธิทุกประการ…
ฤาษีผู้เป็นอาจารย์ของหมอชีวกโกมารภัจนอกจากจะปรากฏชื่ออาเตรยะดังกล่าวแล้ว บางแห่งยังใช้ชื่อ
“ฤทธิยาธรดาบส” ซึ่งตามรูปศัพท์มีความหมายว่า ดาบสผู้ทรงฤทธิ์เท่านั้น จึงน่าจะเป็นเพียงสมญามากกว่า
จะเป็นชื่อเฉพาะ
“บทไหว้ครู”ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ จบด้วยการ “ไหว้ครูผู้สั่งสอน” แล้วขอพรให้ตน ล่วงลุนิพพานดล
ตรงกับความปรารถนาในตอนท้ายเรื่อง ซึ่งเน้นย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า ขอให้เกิดทัน องค์พระเมตไตรย และขอให้
ข้ามฝั่งยังห้องแก้ว พระนิพพานอย่าแปรปรวน
ั
จากการพิจารณา “บทไหว้ครู” และเนื้อหาบางตอนของ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ จึงกล่าวได้ว่าผู้ประพนธ์
ได้พยายามประสานความเชื่อตามคติพุทธเข้ากับคติพราหมณ์ ซึ่งในที่นี้ใช้คำว่า “ไสย์” เข้าไว้ด้วยกัน
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ฉบับนี้มีคำขยายชื่อว่า “ตำราแพทย์ที่เรียบเรียงขึ้นใหม่” เมื่อพิจารณาการลำดับ
ความและความต่อเนื่องของเนื้อหาที่อาจแบ่งได้เป็นตอน ๆ แล้วอาจกล่าวได้ว่า เป็นการนำต้นฉบับตอนต่าง ๆ
มารวมไว้ในที่เดียวกันมากกว่าจะเป็นการนำมาเรียบเรียงใหม่ ผู้ประพันธ์คัมภีร์ฉันทศาสตร์จึงน่าจะมีหลายคน
แต่ที่ปรากฏชื่อ พระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) ผู้ว่าราชการเมืองจันทบุรีว่าเป็นผู้เรียบเรียงขึ้นใหม่นั้น น่าจะเป็น
เพราะมีข้อความในตอน “มรณญาณสูตร” (ตอนหนึ่งใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์) ว่า
…คัมภีร์กำเนิดไข้ ลิขิตไว้ในทางทาน
ตัวเราผู้แต่งสาร ได้ครองจันทบูรี…
หน้า 18