Page 18 - คัมภีร์ฉันทศษศตร์pdf
P. 18

…เรียนรู้ให้เจนจัด   จบจังหวัดคัมภีร์ไสย์

                       ตั้งต้นปฐมใน                ฉันทศาสตรดังพรรณา
                       ………………………………..              ………………………………..

                       เปนแพทย์ไม่รู้ใน            คัมภีร์ไสย์ท่านบรรจง

                       รู้แต่ยามาอ่าองค์           รักษาไข้ไม่เข็ดขาม
                       …………………………………               ………………………………..

                       เรียนรู้คัมภีร์ไสย์         สุขุมไว้อย่าแพร่งพราย…


                       อย่างไรก็ตาม “คัมภีร์ไสย์” ตำราแพทย์ไม่ได้เน้นความเชื่อเรื่องเวทมนตร์คาถา และอำนาจลึกลับตาม

               แนวไสยศาสตร์ในตำราอินเดีย ที่เชื่อเรื่องผีสางเทวดาทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บที่ต้องใช้เวทมนตร์รักษา เป็นต้น
               ถึงแม้ว่าความเชื่อเกี่ยวกับผีสางเทวดาและเวทย์มนต์คาถาจะอยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยนับตั้งแต่โบราณตราบจน

               ทุกวันนี้แต่ใน คัมภีร์ฉันทศาสตร์ กลับไม่ได้กล่าวถึงอำนาจผีสางเทวดาที่ทำให้เกิดโรคภัยหรือเวทมนตร์คาถาที่
               ใช้รักษาโรค มีแต่เพียงความเชื่อบางประการที่ไม่อาจอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางตรรกะ เช่น ตำแหน่งของชีพจร

               ที่ขึ้นอยู่กับเวลาข้างขึ้นข้างแรม เป็นต้นว่า ขึ้นค่ำหนึ่งอยู่ที่ฝ่าเท้า สองค่ำอยู่ที่หลังเท้า สามค่ำอยู่ที่ศีรษะ สี่ค่ำ

               อยู่ที่แขน ห้าค่ำอยู่ที่สิ้น ฯลฯ ซึ่งน่าจะเป็นเพราะอิทธิพลทางโหราศาสตร์ที่คนไทยส่วนมากเชื่อกันอย่างหนัก
               แน่นอยู่แล้ว (ในตำราแพทย์อินเดียก็ปรากฏความเชื่อทางโหราศาสตร์ เช่น คำอธิบายสมุฏฐานของบางโรคว่า

               เกิดจากตำแหน่งและการโคจรของดวงดาว เป็นต้น)

                       “คัมภีร์ไสย์”  ในคัมภีร์ฉันทศาสตร์ จึงไม่น่าจะหมายถึงไสยศาสตร์โดยตรงหากแต่เป็นตำราที่มีเนื้อหา
               เกี่ยวข้องกับคัมภีร์อถรรพเวทเป็นต้นตำรับของไสยศาสตร์เท่านั้น การที่ผู้ประพันธ์คัมภีร์ฉันทศาสตร์เน้น

               ความสำคัญของ “คัมภีร์ไสย์” ไว้หลายแห่ง ก็เพื่อให้ผู้อ่านเชื่อถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเช่นเดียวกับ
               การเรียกชื่อตำราว่า คัมภีร์ฉันทศาสตร์ และอ้างที่มาของ “คัมภีร์” ตามความเชื่อที่สืบทอดกัน   ดังในข้อความ

               ต่อไปนี้


                              …..ตามในตำรา เมืองตักกะศิลา ครั้งห่าลงเมือง พระฤาษีเมตตา

                       เห็นเวทนา ฝูงคนตายเปลือง จึงไว้ตำรา…..


                       การอ้างถึงพระฤาษีซึ่งเกี่ยวข้องกับอำนาจเวทมนตร์ตามคติอินเดียและการอ้างเมือง “ตักกะศิลา”

               ซึ่งเป็นแหล่งวิชาความรู้ของอินเดียโบราณ น่าจะมีน้ำหนักพอที่จะทำให้ผู้อ่านแต่ก่อนเชื่อถือได้ เพราะอิทธิพล
               ความเชื่อจากวัฒนธรรมอินเดียมีมานานแล้ว

                       ถึงแม้ผู้ประพันธ์ คัมภีร์ฉันทศาสตร์ จะเน้นความสำคัญของ “คัมภีร์ไสย์” ไว้มาก แต่ก็ได้พยายาม

               ประสานความคิดความเชื่อต่าง ๆ ของสังคมพุทธศาสนาเข้าไว้ด้วย ดังจะเห็นได้จากคำสอนให้แพทย์ประพฤติ





                                                                                                    หน้า 16
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23